วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การดูร่างกาย


การดูแลสุขภาพ

                โดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ่น ในชีวิต ก็จะพยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นอันดับแรก เมื่อรู้ว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เอง ก็จะแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้อื่น
                ในเรื่องความเจ็บป่วย หรือปัญหาสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ทุกคนต้องการที่จะดูแลตนเอง ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ ดังนั้น กล่าวได้ว่า "การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นกิจกรรมที่บุคคลแต่ละคนปฏิบัติ และยึดเป็นแบบแผนในการปฏิบัติ เพื่อให้มีสุขภาพดี" อาจแบ่งขอบเขตการดูแลสุขภาพตนเอง เป็น 2 ลักษณะคือ
 

การดูแลสุขภาพตนเองในสภาวะปกติ 
                 เป็นการดูแลสุขภาพตนเอง และสมาชิกในครอบครัว ให้มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์อยู่เสมอ ได้แก่

  • การดูแลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข เช่น การออกกำลังกาย การสร้างสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • การป้องกันโรค เพื่อไม่ให้เจ็บป่วยเป็นโรค เช่น การไปรับภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ การไปตรวจสุขภาพ การป้องกันตนเองไม่ให้ติดโรค
การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วย
           
ได้แก่ การขอคำแนะนำ แสวงหาวามรู้จากผู้รู้ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขต่างๆ ในชุมชน บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติ หรือการรักษาเบื้องต้นให้หาย จากความเจ็บป่วย ประเมินตนเองได้ว่า เมื่อไรควรไปพบแพทย์ เพื่อรักษาก่อนที่จะเจ็บป่วยรุนแรง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุข เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย และมีสุขภาพดีดังเดิม
            การที่ประชาชนทั่วไปสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ ึความเข้าใจในเรื่อง การดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ยังไม่เจ็บป่วย เพื่อบำรุงรักษาตนเอง ให้สมบูรณ์แข็งแรง รู้จักที่จะป้องกันตัวเอง มิให้เกิดโรค และเมื่อเจ็บป่วยก็รู้วิธีที่จะรักษาตัวเอง เบื้องต้นจนหายเป็นปกติ หรือรู้ว่า เมื่อไรต้องไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
 
            

                โดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น ในชีวิต ก็จะพยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นอันดับแรก เมื่อรู้ว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เอง ก็จะแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้อื่น
                ในเรื่องความเจ็บป่วย หรือปัญหาสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ทุกคนต้องการที่จะดูแลตนเอง ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ ดังนั้น กล่าวได้ว่า "การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นกิจกรรมที่บุคคลแต่ละคนปฏิบัติ และยึดเป็นแบบแผนในการปฏิบัติ เพื่อให้มีสุขภาพดี" อาจแบ่งขอบเขตการดูแลสุขภาพตนเอง เป็น 2 ลักษณะคือ
 
การดูแลสุขภาพตนเองในสภาวะปกติ 
                 เป็นการดูแลสุขภาพตนเอง และสมาชิกในครอบครัว ให้มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์อยู่เสมอ ได้แก่
  • การดูแลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข เช่น การออกกำลังกาย การสร้างสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • การป้องกันโรค เพื่อไม่ให้เจ็บป่วยเป็นโรค เช่น การไปรับภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ การไปตรวจสุขภาพ การป้องกันตนเองไม่ให้ติดโรค
การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วย
           
ได้แก่ การขอคำแนะนำ แสวงหาวามรู้จากผู้รู้ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขต่างๆ ในชุมชน บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติ หรือการรักษาเบื้องต้นให้หาย จากความเจ็บป่วย ประเมินตนเองได้ว่า เมื่อไรควรไปพบแพทย์ เพื่อรักษาก่อนที่จะเจ็บป่วยรุนแรง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุข เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย และมีสุขภาพดีดังเดิม
            การที่ประชาชนทั่วไปสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ ึความเข้าใจในเรื่อง การดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ยังไม่เจ็บป่วย เพื่อบำรุงรักษาตนเอง ให้สมบูรณ์แข็งแรง รู้จักที่จะป้องกันตัวเอง มิให้เกิดโรค และเมื่อเจ็บป่วยก็รู้วิธีที่จะรักษาตัวเอง เบื้องต้นจนหายเป็นปกติ หรือรู้ว่า เมื่อไรต้องไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข


แหล่งที่มา  http://blog.eduzones.com/popaep/32889

การดูแลรักษาผิวหน้า


ดูแลรักษาหน้าอย่างไรให้สวยใส น่าสัมผัส ต้อง นี่เลย สูตรสวยแบไม่ต้องเปลืองตังค์จ๊ะ
สูตรขจัดสิวหัวดำ นำมะเขือเทศสดมาปั่นรวมกับข้าวโอ๊ตให้เข้ากัน แล้วผสมน้ำผึ้ง 
สักเล็กน้อยนำมาทา บนใบหน้าให้ทั่ว เน้นเป็นพิเศษบริเวณ 
ที่มีสิวหัวดำ แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำอุ่น 


มาร์คพอกหน้าสูตรใบเตย 
นำใบเตย4-5 ใบมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วนำไปปั่นรวมกับไข่ไก่ 
2ช้อนโต๊ะจะได้มาร์คพอกหน้าเป็นครีมข้นๆ หอมกลิ่นใบเตย 
พอกหน้าไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วล้างหน้าตามปกติ 


ถนอมผิวหน้าด้วยโยเกิร์ต 
ล้างหน้าให้สะอาด ซับเบาๆด้วยผ้าขนหนู แล้วใช้มือแตะ 
โยเกิร์ต(ให้ใช้ชนิดที่ไม่ผสมเนื้อผลไม้) มาพอกให้ทั่วผิวหน้า 
เว้นรอบปากและดวงตา นวดและคลีงเบาๆ พอกไว้ประมาณ 
20 นาที จึงล้างออก หมั่นทำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ผิวจะเปล่งปลั่ง 
สดใสอมชมพูทีเดียวค่ะ 


ครีมพอกหน้าสำหรับสาวผิวมันและผิวผสม 

ให้ใช้แตงกวา1 ผล ไขไก่ 1 ฟอง (ใช้เฉพาะไข่ขาว) และมะนาว 
1 เสี้ยว หั่นแตงกวาเป็นแว่นบางๆ นำไปปั่นพร้อมกับไข่ขาว 
และบีบน้ำมะนาวลงไป ปั่นจนละเอียดเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน 
นำมาพอกให้ทั่วใบหน้า เว้นรอบปากและดวงตาไว้ ทิ้งไว้ 
ประมาณ 20 นาที แล้วจึงล้างหน้าตามปกติ หมั่นทำบ่อยๆ ทุก 
สัปดาห์ จะช่วยลดความมันส่วนเกิน และยังช่วยสมานผิวหน้า 
กระชับรูขุมขน ช่วยให้ผิวหน้าเรียบเนียน เต่งตึง และนวลนุ่ม 
ชุมชื่น 


เพื่อเรียวขาสวย 
ก่อนนอน นำมะนาวเปรี้ยวๆสักหนึ่งเสี้ยว บีบลงในดินสอพอง 
พอหมาด ทาให้ทั่วขา ทิ้งไว้สักหนึ่งคืน รุ่งเช้าค่อยล้างออก 
แม้จะไม่ทำให้ขาเนียนขึ้นทันตาเห็น แต่หากทำเป็นประจำ 
ยืนยันว่าได้ผลค่ะ 



ลบรอยกระด่างดำบนใบหน้าด้วยมะละกอสุก 
นำมะละกอสุกมายีให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ สัก 10 นาที 
แล้วจึงล้างออก จะช่วยให้ ใบหน้าที่มีรอยด่างดำดูดีขึ้น 



สูตรรักษาฝ้า 
คั้นน้ำมะขามเปียก ให้ค่อนข้างใสสักหน่อย ตั้งไฟอ่อน รอจนสุก 
จึงใส่น้ำผึ้งลงไปคนให้เข้ากัน ขั้นตอนนี้ต้องทำพร้อมกัน 
คือมือหนึ่งเท อีกมือก็คนให้ทั่ว นำมาทาหน้า วันละ 1 ชั่วโมง 
ช่วยรักษาฝ้า และทำให้ผิวหน้านวลใสขึ้น 


สูตรสาวหน้าใส 
ส่วนผสม น้ำผึ้ง น้ำมะนาว 
ผสมน้ำผึ้ง 1 ถ้วย น้ำมะนาว 1 ช้อนชา เข้าด้วยกัน 
นำมานวดให้ทั่วใบหน้า 
มะนาว จะช่วยขจัดเซลล์ผิว เหมือนครีมที่มีส่วนผสม 
AHA นั่นแหละ ส่วนน้ำผึ้ง ทำให้ผิวนุ่ม ชุ่มชื่น นวด 
ประมาณ 15 นาที 


สูตรลดริ้วรอย 
เลือกใช้ผลไม้ที่หาง่าย จะเป็นแอปเปิ้ล กล้วยหอม 
แตงกวา หรือมะเขือเทศก็ได้ค่ะ ใช้ปริมาณ 1 ถ้วย 
นำมาปอกเปลือกและเอาเมล็ดออก นำไปปั่นให้เนื้อ 
ละเอียด นำเนื้อผลไม้ที่เตรียมไว้ มาพอกให้ทั่วหน้า 
ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วล้างออก และล้างหน้าด้วยน้ำอุ่น 
อีกครั้ง จะทำให้ผิวหน้าเนียนนุ่ม เกลี้ยงเกลา แลดูสดใส 


สูตรกระชับรูขุมขน 
กล้วยหอม แตงกวา มะเขือเทศ (เลือกเอาอย่างใด 
อย่างหนึ่ง) ปอกเปลือก เอาเมล็ดออก แล้วหั่นเป็น 
ชิ้นเล็ก ๆ เติมนมเปรี้ยวหรือน้ำผึ้งลงไป 
นำไปปั่นจนละเอียดเป็นเนื้อครีม นำมาพอกให้ทั่ว 
ใบหน้าและลำคอ ทิ้งไว้ ประมาณ 15 นาที แล้วจึงล้าง 
ออกด้วยน้ำอุ่น จะช่วยทำความสะอาดใบหน้า และ 
ช่วยกระชับรูขุมขน และบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น 


สูตรพิฆาตสิวเสี้ยน 
นำไข่ขาว มาทาบาง ๆ บริเวณที่มีสิวเสี้ยน แล้วใช้ 
กระดาษทิชชูหรือกระดาษซับหน้าแค่ชั้นเดียว 
วางทับลงไป รอให้แห้ง แล้วค่อย ๆ ดึงกระดาษออก 
โดยดึงจากมุมด้านล่าง สิ้วเสี้ยนที่เคยเป็นเสี้ยนหนาม 
ตำใจจะหลุดออกมาอย่างง่ายดายค่ะ 


เคลนเซอร์สำหรับทุกสภาพผิว 
โยเกิร์ต 1/2 ถ้วย 
น้ำมันดอกทานตะวัน 1 ช้อนโต๊ะ 
น้ำมะนาว 1 1/2 ช้อนโต๊ะ (คั้นสด ๆ นะคะ) 
นำส่วนผสมทั้งหมด มาผสมให้เข้ากัน พอกให้ทั่วหน้า 
ทุกเช้าและก่อนนอน แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด 
จะช่วยทำความสะอาดผิวหน้าได้อย่างล้ำลึก และบำรุงผิว 
ให้ชุ่มชื้นอีกด้วย 


สูตรสาวผมสวย 
ผมนุ่มสลวยด้วยแชมพูจากมะกรุด 
วิธีทำ ใส่น้ำ2 แก้ว ลงไปต้มให้เดือด ใส่มะกรูด 1 ลูก 
ผ่าซีกลงไป ปิดฝาปิดไฟ ทิ้งไว้ 5 นาที นำมากรอง 
เอาแต่น้ำ นำน้ำมะกรูดที่ได้มาสระผม จะช่วยให้ผม 
นุ่มสลวยแถมและไร้รังแคด้วยค่ะ 


ครีมนวดผมสำหรับผมแห้ง 
น้ำมันมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับ ไข่แดง 1 ฟอง 
นำมาตีให้เข้ากัน นวดให้ทั่วศีรษะ ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง 
จะทำให้ผมนิ่มสลวย ดูมีน้ำหนัก และจัดทรงง่าย 


ผมสวยด้วยแชมพูไข่ 
ถ้าผมแห้งมาก ใช้ไข่ 1 ฟอง เลือกเอาเฉพาะไข่แดง 
ตีให้ละเอียดผสมน้ำอุ่นเล็กน้อย หลังจากสระผม 
โดยทิ้งไว้ 10 นาที จึงล้างออก จะทำให้เส้นผมนุ่มสลวย 
ไม่หยาบมือ 


ทรีทเม้นท์ไข่และแตงกวา 
นำไข่ (ใช้ทั้งไข่ขาวและไข่แดง) ตีให้เข้ากัน เติมน้ำมัน 
มะกอกลงไปในปริมาณที่ใกล้เคึยงกัน นำมาผสมกับ 
แตงกวาซึ่งปั่นจนละเอียด (ใช้ 1/4 ลูก) พอกให้ทั่วเส้นผม 
ประมาณ 10 นาที ทำเพียงเดือนละครั้ง ช่วยบำรุงผม 
ให้นิ่มสลวย เหมาะกับผมที่แห้งกรอบจากความร้อน 


ครีมนวดผมสูตรน้ำผึ้ง 
น้ำผึ้ง 1/2 ถ้วย 
น้ำมันมะกอก 1/4 ถ้วย ถ้าผมไม่แห้งนักใช้เพียง 
2 ช้อนโต๊ะก็พอค่ะ 
ผสมน้ำผึ้งกับน้ำมันมะกอกให้เข้ากัน นำมาหมักให้ 
ทั่วเส้นผม ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หลังจากนั้น 
สระผมให้สะอาดอีกครั้งค่ะ เหมาะกับคนที่ผมแห้ง 
จนเสียสวยค่ะ 


ผิวเรียบเนียนด้วยกาแฟบด 
ก็บรรดา ครีมขจัดเซลลูไลต์ ที่ราคาแสนแพงน่ะ 
มีคาเฟอีนอยู่ด้วย ซึ่งช่วยกระตุ้นการขจัดเซลล์ไขมัน 
และยังขัดผิวให้เรียบเนียน แต่อาจจะดูยุ่งยากกว่า 
การใช้ครีมกระปุกอยู่บ้าง จึงควรทำในห้องน้ำ และ 
ก่อนที่จะลงมือขัดผิวด้วยกาแฟอย่าลืมปูพื้นห้องน้ำ 
ด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อป้องกันท่อน้ำตันค่ะ 
สูตรนี้ใช้กับผิวกายนะคะ ห้ามใช้กับผิวหน้าค่ะ 
และในระหว่างที่ขัดผิว หากมีนวดไปด้วย จะช่วยกระตุ้น 
การไหลเวียนของเลือด ทำให้ผิวพรรณสดใสขึ้นได้ค่ะ 


สาวมือนุ่ม 
นำเนื้อสัปปะรด มาบดให้ละเอียด พอกให้ทั่วมือของคุณ 
และนวดไปด้วย สัก 5 นาที จะช่วยให้มือนุ่ม มีเสน่ห์ 
ขึ้นอีกพะเรอเกวียนเชียวล่ะ 
นำไข่ขาวมาตีให้ขึ้น แล้วเติมน้ำมะนาว และน้ำผึ้ง อย่างละ 
1 ช้อนชา นำมาชโลมให้ทั่วใบหน้า แล้วใช้มือนวดเป็นวงกลม 
ไปพร้อม ๆ กัน ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วจึงใช้ผ้านุ่ม ๆ ชุบน้ำเช็ดออก 
จะช่วยทำความสะอาดผิว และบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นในขณะเดียวกัน 
นอกจากนำมาทาหรือพอกหน้า เพื่อให้ผิวสดใส เปล่งปลั่ง 
กันแล้ว ในวันหยุด ลองดื่ม ชาผสมน้ำผี้ง จะช่วยกระตุ้นระบบ 
การไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น ทำให้ผิวสดใส มีเลือดฝาด แต่ 
ไม่ควรเทน้ำเดือดจัดๆ ลงในน้ำผึ้งนะคะ เพราะอาจทำให้สาร 
ที่มีประโยชน์ในน้ำผึ้ง สลายตัวได้ค่ะ 


พอกหน้าด้วยน้ำผึ้ง (จากสเปน) 
ล้างหน้าให้สะอาด เช็ดให้แห้งแล้วใช้ปลายนิ้วแตะ 
น้ำผึ้งลูบไล้บนใบหน้าและลำคอเบาๆสักครู่แล้วนวดหน้า 
ด้วยปลายนิ้วอย่างแผ่วเบาสักประมาณ 5 นาทีจนน้ำผึ้ง 
เหนียว นวดต่อไปไม่ได้แล้ว ก็ปล่อยทิ้งไว้ นอนพักให้ 
ศีรษะอยู่ต่ำกว่าระดับปลายเท้า เพื่อให้เลือดไหลมา 
หล่อเลี้ยงที่ใบหน้าและลำคอได้สะดวกยิ่งขึ้น พักสักครู่ 
แล้วค่อยๆใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดน้ำผึ้งออก 


 พอกหน้าด้วยแอ๊ปเปิ้ล (จากเบลเยี่ยม) 
ปอกแอ๊ปเปิ้ล คว้านเอาไส้และเมล็ดออก แล้วบดให้ 
ละเอียดขณะที่บดให้ผสมน้ำผึ้งลงไปด้วย เมื่อบดจน 
เข้ากันดีแล้ว นำเอาส่วนผสมนี้มาพอกหน้าทิ้งไว้ 20 นาที 
แล้วใช้นมสดเย็นๆล้างออก 


พอกหน้าด้วยแตงโม (จากตุรกี) 
 ฝานแตงโมเป็นชิ้นบางๆจากส่วนที่แดงที่สุด นำมา 
แปะให้ทั่วใบหน้า แล้วใช้ผ้าขาวบางคลุมหน้าไว้ 
นอนพักสักครู่ ประมาณ ครึ่งชั่วโมง แล้วล้างออก 
ด้วยน้ำเย็น 


พอกหน้าด้วยไข่ขาว (จากสวิตเซอร์แลนด์) 
ต่อยไข่ไก่ 1 ฟอง แยกไข่แดงออก เทเฉพาะไข่ขาว 
ลงในถ้วย ใช้ส้อมตีไข่ขาวจนเป็นฟองพอสมควร แล้วใช้ 
แปรงนุ่มๆจุ่มไข่ขาวทาให้ทั่วใบหน้าและลำคอ ทิ้งไว้ 
ประมาณ 20 นาที จนไข่ขาวเริ่มจับตัวแข็ง แล้วล้าง 
ออกด้วยน้ำเย็น 


พอกหน้าด้วยน้ำมะนาวและน้ำผึ้ง (จากฝรั่งเศส) 
ผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ กับน้ำมะนาว 1 ช้อนชา คนให้ 
เข้ากัน แล้วนำมาทาให้ทั่วทั้งใบหน้าและลำคอ ทิ้งไว้ 
อย่างน้อย ครึ่งชั่วโมง หรือมากกว่า แล้วล้างออกด้วย 
น้ำอุ่น 


พอกหน้าด้วยมะเขือเทศ (จากญี่ปุ่น) 
ฝานมะเขือเทศ 1 ชิ้นหนาๆ ถูให้ทั่วใบหน้าและลำคอ 
เบาๆตรงบริเวณที่มีสิวเสี้ยน มะเขือเทศมีวิตามินซีและ 
กรดAHA จะช่วยลอกผิวหนังที่ตายแล้วให้หลุดออกได ้ 
หลังจากนั้นจึงค่อยใช้สำลีชุบน้ำเย็นเช็ดมะเขือเทศออก 


พอกหน้าด้วยนมเปรี้ยว (จากรัสเซีย) 
สำหรับผู้ที่มีผิวหน้ามัน ให้ล้างหน้าให้สะอาดก่อน 
จะเอานมเปรี้ยวที่แช่เย็นจัดพอกหน้า ทิ้งไว้ 20 นาที 
หรือนานกว่านั้นแล้วใช้ผ้าขนหนูนุ่มๆเช็ดออก 
ตำรับนี้จะใช้ได้ผลดีมากในหน้าร้อน จะช่วยให้ 
ใบหน้าที่ซีดเซียวกลับเปล่งปลั่งขึ้นได้ 


การเลือกมาสก์พอกหน้าให้เหมาะกับผิว 
ผิวมัน คุณสามารถใช้มาสก์ได้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง มาสก์ที่เหมาะ 
กับคนผิวมัน ควรมีคุณสมบัติช่วยดูดซับความมัน สามารถ 
ขจัดสิ่งสกปรกที่อุดตันในรูขุมขนได้ พร้อมกับช่วยกระชับ 
รูขุมขน 
ผิวแห้ง ควรมาสก์หน้าสัปดาห์ละครั้งก็พอค่ะ มาสก์ที่เหมาะ 
กับคนผิวแห้ง ควรมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิว 


วิธีการมาสก์หน้า 
ควรทำความสะอาดผิวหน้าให้สะอาดหมดจดด้วยคลีนเซอร์ที่ 
เหมาะกับผิว ก่อนที่จะพอกหน้าให้ทั่วใบหน้า โดยเว้นรอบ 
ดวงตาและริมฝีปาก แล้วทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที ( ถ้าจะ 
ให้ผลดีอาจใช้ผ้าขนหนูชุบอุ่น ๆ นำมาวางบนหน้า ความร้อน 
จากผ้าขนหนูจะช่วยให้ส่วนผสมในมาสก์ซึมซับสู่ผิวได้ดี 
ยิ่งขึ้น ) แล้วใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาด จากนั้น 
จึงล้างหน้าด้วยน้ำเย็นอีกครั้ง ซึ่งจะช่วยกระชับรูขุมขน 
และทำให้ผิวสดชื่น เช็ดให้แห้งด้วยผ้านุ่ม ๆ และตามด้วย 
ครีมบำรุงผิวค่ะ คราวนี้ผิวคุณก็นุ่มละมุนสดชื่น และสดใส 
...ชัวร์ 


มอยเจอร์ไรเซอร์จากกล้วย 
นำกล้วยบด 1 ผล ผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อน ยีให้เข้ากัน นำมา 
พอกให้ทั่ว ใบหน้า ทิ้งไว้ 15 นาที จึงล้างออกด้วยน้ำอุ่น 
จะทำให้ผิวหน้า ชุ่มชื้นขึ้น สูตรนี้เหมาะกับผิวแห้งค่ะ 

เคลนเซอร์น้ำผึ้ง 
ผสมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโตีะ กับจมูกข้าวสาลี 2 ช้อนชา คนให้เข้ากัน 
นำมาทาให้ทั่วใบหน้า ใช้ปลายนิ้วขัดเบา ๆ เพื่อกระตุ้น 
การไหลเวียนของเลือด และขจัดเซลล์เก่าให้หลุดลอกออกมา 
ซึ่งน้ำผึ้งจะช่วยให้ผิวหน้าชุ่มชื้นขึ้น และยังช่วยลดริ้วรอย 
และจุดด่างดำ 

มาสค์พอกหน้าจากมะละกอ 
นำมะละกอมาปั่นให้ละเอียด นำพอกให้ทั่วผิวหน้า ในมะละกอ 
จะมีเอนไซม์ที่ช่วยขจัดเซลล์ที่ตายแล้วให้หมดได้ จึงทำให้ 
ผิวหน้า สดใส เปล่งปลั่ง 

เคลนเซอร์จากโยเกิร์ต 
ใช้โยเกิร์ตรสธรรมชาติ กับเกลือป่น 2 ช้อนชา นำมาขัดเบา ๆ 
บริเวณผิวหน้า จะช่วยลดความมันและขจัดเซลล์เก่าให้ 
หลุดลอกออกมา สูตรนี้เหมาะสำหรับผิวผสมและผิวมัน 

มาร์คพอกหน้าจากกล้วยผสมน้ำมันมะกอก 
กล้วยสุกยีให้ละเอียด เติมน้ำมันมะกอกลงไปเล็กน้อย เพื่อให้ 
เนื้อครีมข้น นำมาพอกให้ทั่วใบหน้าทิ้งไว้ 15-20 นาที แล้ว 
ล้างออก จะช่วยบำรุงผิวหน้าให้ชุ่มชื้นขึ้น เหมาะกับผิวแห้ง 

มาร์คพอกหน้าสูตรไข่ผสมข้าวโอ๊ต 
ไข่ขาว 1 ฟอง ผสมกับ ข้าวโอ๊ต 1 ช้อนชา คลุกเคล้าให้เข้ากัน 
นำมาพอกให้ทั่วผิวหน้า ทิ้งไว้ 15-20 นาที สูตรนี้เหมาะกับ 
ผิวมันค่ะ เพราะจะช่วยขจัดสิ่งสกปรกจากใบหน้า และช่วยปรัป 
ผิวให้สมดุลมากขึ้น 

มาร์คพอกหน้าจากแตงกวา (เหมาะสำหรับผิวมันและผิวผสม) 
ให้ใช้แตงกวา1 ผล ไขไก่ 1 ฟอง (ใช้เฉพาะไข่ขาว) และมะนาว 
1 เสี้ยว หั่นแตงกวาเป็นแว่นบางๆ นำไปปั่นพร้อมกับไข่ขาวและ 
บีบน้ำมะนาวลงไป ปั่นจนละเอียดเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน 
นำมาพอก ให้ทั่วใบหน้า เว้นรอบปากและดวงตาไว้ ทิ้งไว้ 
ประมาณ 20 นาที แล้วจึงล้างหน้าตามปกติ หมั่นทำบ่อยๆ 
ทุกสัปดาห์ จะช่วยลดความมันส่วนเกิน และยังช่วยสมานผิวหน้า 
กระชับรูขุมขน ช่วยให้ผิวหน้าเรียบเนียน เต่งตึง และนวลนุ่ม 
ชุ่มชื่น เหมาะสำหรับผิวมันและผิวผสม 
แก้ข้อศอก ส้นเท้าด้านดำ 
ใช้เปลือกมะนาวที่บีบน้ำออกหมดแล้ว นำมาขัด ๆ ถูผิว 
ส่วนที่ด้านหรือแตก เช่น ข้อศอกหรือส้นเท้า จะช่วยให้ 
ผิวนุ่ม ชุ่มชื้น รอยด้านหรือแตกก็จะค่อยจางลง 

ลบรอยด่างดำที่ขา 
สาว ๆที่ขาลาย มีจุดด่างดำเล็ก ๆ ให้ใช้น้ำมะนาวบีบลงใน 
ดินสอพอง พอหมาด ๆ ทาบริเวณขาทุกคืน ก่อนนอน 
ตื่นเช้าค่อยล้างออก รอยด่างดำ จะค่อยจางหายไป 

ผสมในน้ำอาบ ช่วยให้ผิวพรรณสดใส 
ฝานมะนาวออกเป็น 4 ส่วน ใส่ลงในน้ำที่จะอาบ นอกจาก 
จะช่วยขจัดของเสียออกจากผิวแล้ว และยังทำให้ผิวพรรณ 
สดใสอีกด้วย และทุกเช้าตอนตื่นนอน ดื่มน้ำอุ่นผสมมะนาว 
ก็จะช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และช่วยให้ผิวพรรณ 
สดใสอีกทางหนึ่ง 

แก้ปัญหาเล็บเหลือง 
สำหรับสาว ๆ ที่แต้มสีเล็บบ่อย ๆ อาจทำให้เล็บเหลืองได้ 
ให้ใช้สำลีชุบน้ำมะนาวแปะเล็บไว้สัก 10 นาที จะทำให้ 
คราบสีเหลืองค่อย ๆหายไป และยังทำให้เล็บแข็งแรง 
ขึ้นด้วย 

ขจัดรอยเปื้อนยางผลไม้ 
เมื่อปอกผลไม้ที่มียาง ยางมักติดตามซอกเล็บ แก้ไขได้ 
โดยใช้เปลือกมะนาวที่บีบน้ำออกหมดแล้ว มาขัด ๆ ถูๆ 
บริเวณที่เปื้อน คราบยางดำ ๆ จะหลุดลอกออก เล็บมือ 
ของคุณจะขาวสวยเหมือนเดิม 

ในเวลาที่นอนไม่หลับ 
การจิบน้ำผึ้งอุ่นๆ จะช่วยให้คุณหลับ 
ได้ง่ายขึ้น หากช่วงไหนโหมงานหนักๆ ใบหน้าหมองคล้ำ 
อิดโรย ให้ใช้น้ำผึ้งบริสุทธิ์ทาผิวหน้า ทิ้งไว้ราว 3-4 นาที 
แล้วจึงใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น เช็ดออก จะช่วยให้ผิวหน้าสดใส 
มีชีวิตชีวาขึ้น 

น้ำผึ้งนั้น เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในทุกขั้นตอนของ 
การดูแลผิวหน้าตั้งแต่การทำความสะอาดผิว กระชับรูขุมขน 
และการบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ป้องกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัย 
เติมน้ำมะนาว 2-3 หยด ลงในน้ำผึ้ง แล้วนำมาพอกหน้าไว้สัก 
5 นาที แล้วล้างออก จะช่วยให้ผิวหน้าขาว สดใสขึ้น 
กล้วยสุก 1 ผล นำมาบดแล้วเติมน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ผสมให้เข้ากัน 
นำมาพอกหน้าทิ้งไว้ 15 นาที แล้วล้างออก จะช่วยให้คนที่ผิว 
แห้งมากๆ ดูชุ่มชื้นขึ้น


การส่งดาวเทียม





ดาวเทียมมักถูกส่งจากจรวดที่มีหลายตอน ตอนแรกเรียกว่า บู้สเตอร์ (booster) ปกติมันจะทำงานเป็นเวลาหนึ่งนาทีก่อนจะใช้เชื้อเพลิงหมดแล้วตกลงมา ตอนต่อไปจะติดไฟและดันจรวดให้สูงขึ้น ตอนสุดท้ายบรรจุสิ่งของซึ่งได้แก่ดาวเทียมตอนต่าง ๆ ของจรวด อาจใช้เชื้อเพลิงแข็งหรือเชื้องเพลิงเหลวก็ได้
ตอนแรกถูกส่งขึ้นไปเกือบตรง เมื่อถึงเวลาปล่อยดาวเทียมจรวดจะวิ่งเป็นแนวราบ จรวดจะถูกขับขี่โดยเครื่องยนต์จรวดขนาดเล็กเครื่องยนต์จรวดขนาดเล็กเหล่านี้จะยิงเข้าไปในด้านหนึ่งของจรวดหลักโดยดันมันให้ไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง
ดาวเทียมมักถูกวางไว้ให้โคจรรอบโลกในตำแหน่งเดียวกับโลก โดยอยู่ใกล้ชั้นบรรยากาศชั้นบนของโลก การอยู่ในตำแหน่งเดียวกับโลกโดย เสมอทำให้ง่ายสำหรับดาวเทียมที่จะส่งและรับสัญญาณวิทยุ การโคจรในระดับเดียวกับโลกถูกตัดเป็นครั้งแรกโดยออร์เธอร์ ซีคล็าก นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ในปี 1945
การโคจรที่ต่ำสุดมีความสูงน้อยกว่า 100 ไมล์ ในระดับความสูงเหนือน้ำทะเลนี้ ยังมีอากาศเพียงพอที่จะทำให้เกิดการเสียดสี ดาวเทียมในวงโคจรเหล่านี้อาจอยู่ได้ไม่กี่ปี ในขณะที่อากาศทำให้มันช้าลง มันก็จะตกลงสู่โลกเผาไหม้ในบรรยากาศ
การโคจรในระดับเดียวกับโลกอาจอยู่ที่ขั้วโลกหรือที่แถบเส้นศูนย์สูตร ดาวเทียมที่โคจรที่ขั้วโลกจะข้ามขั้วโลกเหนือและใต้ ในขณะที่โลกหมุนอยู่ใต้มัน โลกโคจรเล็กน้อยในขณะการโคจรใหม่ทุกครั้ง ดาวเทียมจะอยู่เหนือจุดที่แตกต่างบนพื้นดินในแนวทางดังกล่าว ดาวเทียมที่โคจรรอบขั้วโลกจะครอบคลุมทุกจุดบนโลก ดาวเทียมทางทหารมักจะถูกส่งไปโคจรรอบขั้วโลก
การโคจรที่แถบเส้นศูนย์สูตรคือการโคจรโดยตรงเหนือเส้นศูนย์สูตรขอบโลก เมื่อจรวดถูกยิงไปทางตะวันออก มั่นจะได้รับกำลังพิเศษเพราะโลกหมุนในทิศทางนั้น ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิง ดังนั้นดาวเทียมส่วนใหญ่จึงถูกส่งด้วยวิธีนี้
ดาวเทียมโคจรต่ำเท่าไร มันต้องเคลื่อนไหวให้เร็วขึ้นเพื่อสู่กับแรงโน้มถ่วงดาวเทียมที่โคจรในระดับความสูง 200 ไมล์ ต้องเคลื่อนไหวให้เร็วกว่า 17,000 ไมล์ต่อชั่วโมง เพื่อกันการหล่น ในอัตราความเร็วขนาดนี้ มันหมุนรอบโลกในเวลา 90 นาที ดาวเทียมที่โคจรในจังหวะเดียวกับโลกในระดับความเร็ว 22,300 ไมล์ เหนือเส้นศูนย์สูตรต้องโคจรในอัตรา 6,875 ไมล์ต่อชั่วโมงเพื่อหักล้างแรงโน้มถ่วง
ดาวเทียมบางดวงไม่ได้ถูกส่งขึ้นจากพื้นดิน กระสวยอวกาศสามารถพาดาวเทียมไปโคจรแล้วปล่อยดาวเทียมออกจากห้องบรรทุกสินค้า ปกติจะมีเครื่องยนต์จรวดขนาดเล็กติดกับดาวเทียมเพื่อส่งให้ดาวเทียมโคจรในระดับสูงขึ้น แต่เนื่องจากกระสวยมีภารกิจมากนักวิทยาศาสตร์ จึงไม่สามารถใช้กระสวยส่งดาวเทียมได้บ่อย ๆ


 แหล่งที่มา   http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/84/chemistry/dt_2.htm

วิธีลดนำ้หนัก


สูตรลดน้ำหนัก 6 สูตร

สูตรที่ 1 ลด 7-8 กิโลกรัมใน 2 สัปดาห์

1. มื้อเช้า กินไข่ต้ม 1 ฟอง กินได้ทั้งไข่แดงและไข่ขาว หรือทานโยเกิร์ต 1 ถ้วย แทน
2. มื้อกลางวัน กินสลัดผัก 1 จาน ถ้าไม่ชอบสลัดให้ทานส้มตำ 1 จาน (ไม่หวาน) แทน
3. มื้อเย็น กินแอปเปิ้ล 1 ผล หรือแฮมนึ่ง 1-2 แผ่น แทนได้
4. งดอาหารหลัง 6 โมงเย็น ถ้าหิวให้ดื่มน้ำมากๆ แทน
5. เต้นแอโรบิก 60 นาที อย่างน้อย 4 ครั้งต่อสัปดาห์

สูตรที่ 2 ลด 3-5 กิโลกรัมใน 2 สัปดาห์

1. กินอาหารวันละ 700-800 แคลอรี่
2. กินสลัดผัก หรือผลไม้ 2 ผลหรือกินไข่ต้ม 1 ฟองเป็นมื้อเย็น
3. งดอาหารหลัง1 ทุ่ม ถ้าหิว ให้กินผลไม้ 1 ผลหรือโยเกิร์ต 1 ถ้วย
4. ว่ายน้ำอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์
5. เต้นแอโรบิก 40-60 นาทีทุกวัน

สูตรที่ 3 ลดน้ำหนัก 5-7 กิโลกรัม ได้ผลใน 3 สัปดาห์

1. มื้อเช้ากินโยเกิร์ต 1 ถ้วย (โยเกิร์ตจะช่วยเรื่องการขับถ่าย ให้พลังงานน้อย และดีต่อสุขภาพ)
2. มื้อกลางวันกินก๋วยเตี๋ยวน้ำ 1 ชามเท่านั้น
3. มื้อเย็นกินผักจิ้มน้ำพริก ทานข้าวนิดหน่อย งดข้าวได้ยิ่งดี ถ้าหิวหลังจาก 1 ทุ่มให้กินผลไม้ได้ 1 ผล (แต่ไม่ใช่กินทุเรียน มะม่วง หรือผลไม้ที่หวานมาก) ควรเป็นแอบเปิ้ลหรือส้ม
4. เปิดเพลง เต้นรำในจังหวะเร็วๆ 60 นาที วันเว้นวัน หรือวิ่งจ็อกกิ้ง 45 นาทีแทน
5. ว่ายน้ำ 60 นาที 2 ครั้งต่อสัปดาห์

สูตรที่ 4 ลด 3-5 กิโลกรัมใน 4 สัปดาห์

1. กินอาหารไม่เกินวันละ 1000 แคลอรี่ ตัวอย่างปริมาณแคลอรี่ในอาหารเช่น
นมไขมันต่ำ 1 ถ้วย ให้พลังงาน 240-250 แคลอรี
โยเกิร์ตไขมันต่ำ 1 ถ้วย ให้พลังงาน 125 แคลอรี
โยเกิร์ต 1 ถ้วย ให้พลังงาน 140-150 แคลอรี
เนย 50 กรัม ให้พลังงาน 300 แคลอรี
ไข่ต้ม 1 ฟอง ให้พลังงาน 80 แคลอรี
ไข่เจียว 2 ฟอง ให้พลังงาน 90-100 แคลอรี
2. งดของทอดๆ ที่ใช้น้ำมันปริมาณมากๆ
3. ของหวานกินได้สัปดาห์ละครั้งเท่านั้น
4. ว่ายน้ำ 1 ชั่วโมงเต็ม สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
5. เต้นแอโรบิก 40-60 นาที วันเว้นวัน

สูตรที่ 5 ลด 6-8 กิโลกรัมใน 1 เดือน

1. กินไข่ต้ม 1 ฟองหรือน้ำเต้าหู้ 1 ถ้วยเป็นมื้อเช้าเท่านั้น
2. มื้อกลางวันกินอาหารได้ 1 จาน แต่มื้อเย้นกินแค่แอปเปิ้ลเขียว 1 ผลหรือสลัดผัก 1 จานเล็กๆ เท่านั้น
3. งดอาหารหลัง 1 ทุ่มตรง ถ้าหิวให้กินโยเกิร์ต 1 ถ้วย
4. กระโดดเชือก 60 นาที 2 ครั้งต่อสัปดาห์
5. เต้นแอโรบิก 60 นาที 4 ครั้งต่อสัปดาห์

สูตรที่ 6 ลด 9-10 กิโลกรัมใน 1 เดือน

1. กินผักผลไม้หรืออาหารนึ่งๆ ต้มๆ เป็นมื้อเช้าและมื้อเย็น
2. กินก๋วยเตี๋ยว ข้าวต้ม หรือส้มตำเป็นอาหารกลางวัน
3. งดอาหารหลัง 1 ทุ่ม ถ้าหิวให้กินส้มได้ 1 ผล
4. เต้นรำด้วยเพลงเร็วๆ 60 นาที 4 ครั้งต่อสัปดาห์
5. ตีแบตมินตัน 60 นาที หรือวิ่งจ็อกกิ้ง 60 นาที 2 ครั้งต่อสัปดาห์

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์วิทยาลัยพยาบาล นครลำปาง และรูปจากอินเตอร์เน็ต

สูตรลดน้ำหนักเพิ่มเติม:
สูตรลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน ลด 5 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์

คำแนะนำ
จุดสำคัญของการลดน้ำหนักให้ได้ผลนั้น ท่านต้องรักษาพฤติกรรมการกินอาหารที่ดีร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (ดูเพิ่มเติมที่บทความนี้: อาหารการกิน)  เพราะการลดน้ำหนักแบบเร่งด่วนนั้น หากหลังจากเลิกโปรแกรมนี้ไปแล้วท่านกลับมาทานอาหารแบบปกติ แบบตามใจปาก ท่านก็จะกลับมาอ้วนหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเหมือนเดิม  ดังนั้นเราต้องเตือนตนเองไว้เสมอ การจะลดความอ้วนอย่างได้ผลในระยะยาวนั้น จิตใจจะต้องเข้มแข็ง เราจะต้องเคร่งครัด และมีวินัยกับตนเองให้มาก โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ แต่พอทำไปสักระยะเราจะปรับตัวได้เอง และจะมีลักษณะนิสัยการกิน การใช้ชีวิตที่ส่งเสริมการควบคุมน้ำหนักได้เองโดยอัตโนมัติ หนุ่มๆ สาวๆ หลายคนไม่ประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักนั้น ส่วนใหญ่ทำไม่จริงจัง ทำครึ่งๆ กลางๆ แล้วก็ท้อถอย ยอมแพ้กันไป เพราะจิตใจไม่แข็งแข็งพอนั่นเอง

แหล่งที่มา   http://xn--22c1bm1byar9c5k.blogspot.com/2012/07/6.html


ประเพณีไทยภาคอีสาน


1. ประเพณีผีตาโขน
ช่วงเวลา
          ช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี

ความสำคัญ
          การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ชาวบ้านมีความเชื่อว่าการแห่ ผีตาโขน เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและ นางมัทรี กำลังจะออกจากป่ากลับสู่เมือง บรรดาผีป่า และสัตว์นานาชนิด มีความอาลัยจึงแฝงตนมากับชาวบ้าน เพื่อมาส่งพระเวสสันดร และนางมัทรีกลับเมืองซึ่งเรียกกันว่า ผีตามคน หรือ ผีตาขน





พิธีกรรม
          มีการจัดทำพิธี 2 วัน คือ วันแรก (วันโฮม) ขบวนผีตาโขนจะแห่รอบหมู่บ้านตั้งแต่เช้ามืด เป็นการทำพิธีอัญเชิญพระอุปคุตเข้ามาอยู่ที่วัด ในวันที่สองเป็นพิธีการแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง โดยสมมุติให้วัดเป็นเมือง สำหรับวันที่สองของงานนี้ ชาวบ้านยังได้นำบั้งไฟมาร่วมในขบวนแห่เพื่อเป็นพิธีขอฝนโดยแห่รอบวัด 3 รอบ ในขณะที่แห่อยู่นั้นเหล่าผีตาโขนทั้งหลายก็จะละเล่นหยอกล้อผู้คนไปเรื่อย ๆ เพื่อทำให้เกิดความสนุกสนาน หลังจากเสร็จพิธีการแห่แล้วบรรดาผู้ละเล่นผีตาโขนจะนำเครื่องเล่นผีตาโขน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีไปล่องลงแม่น้ำหมัน และในตอนค่ำของวันเดียวกัน จะมีการฟังเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์
ผีตาโขน จะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก
        ผีตาโขนใหญ่ จะสานมาจากไม่ไผ่มีขนาดใหญ่กว่าคนประมาณ 2 เท่าแล้วจะประดับตกแต่งหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ในการทำผีตาโขนใหญ่ในแต่ละปีจะทำ 2 ตัวคือชายหนึ่งตัว และหญิงอีกหนึ่งตัวเท่านั้น ผู้ที่มีหน้าที่ทำผีตาโขน ใหญ่จะต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน และเมือได้รับอนุญาต แล้วต้องทำผีตาโขนใหญ่ทุกๆ ปีหรือต้องทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปีเพราะว่าคนที่ไม่ได้รับอนุญาตก็จะไม่มีสิทธิ์ทำผีตาโขนใหญ่ เวลาแห่จะต้องมีคนเข้าไปอยู่ในตัวหุ่น
       ผีตาโขนเล็ก  ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ก็มีสิทธิ์ทำผีตาโขนเล็กเพื่อเข้าร่วมสนุกสนานกันได้ทุกคน การเล่นของผีตาโขนเล็กค่อนข้างผาดโผนผู้หญิงจึงไม่ค่อยนิยมเข้าร่วม
การแต่งกายของผู้ที่เข้าร่วมในพิธีแห่ผีตาโขน จะแต่งกายคล้ายกันกับผีปีศาจ ที่สวมศีรษะด้วยที่นึ่งข้าวเหนียวหรือว่ากระติ๊บข้าวเหนียวนั่นเอง และใส่หน้ากากที่ทำด้วยกาบมะพร้าวแกะสลัก มีการละเล่นร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานในขบวนแห่





สาระ
          การละเล่นผีตาโขนนับว่าเป็นสิ่งที่แปลกสำหรับผู้พบเห็น มีการนำเอาก้านทางมะพร้าวที่แห้ง นำมาตกแต่งเป็นหน้ากาก โดยการเจาะช่องตา จมูก ปาก และใบหู นำเอาหวดนึ่งข้าว โดยกดดันหวดให้เป็นรอยบุ๋มหงายปากหวดขึ้น เพื่อสวมศีรษะแต่งแต้มสีสันให้น่าดู ส่วนชุดที่สวมใส่ทำมาจากเศษผ้าหลากหลายสีมาเย็บต่อกัน อุปกรณ์ในการละเล่นมี 2 ชิ้น คือ "หมากกระแหล่ง" มีไว้เพื่อเขย่าทำให้เกิดเสียงดังในเวลาเดิน และ "อาวุธประจำกาย" ผีตาโขนส่วนมากจะใช้ผู้ชายแสดงเนื่องจากต้องกระโดดโลดเต้นไปเรื่อย ๆ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ผู้หญิงเป็นตัวแสดง นอกจากเข้าร่วมในงาน "บุญหลวง" ยังได้เข้าร่วมขบวนแห่ในวันเปิดงานกาชาดดอกฝ้ายบานมะขามหวานเมืองเลย โดยขบวนผีตาโขนจะเดินรอบเมืองเพื่อโชว์ให้แขกบ้านแขกเมืองได้เห็น

2. ประเพณีบุญบั้งไฟ
ช่วงเวลา
            เดือนพฤษภาคม

ความสำคัญ
            ชาวจังหวัดยโสธรร้อยละ 85 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวยโสธรจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นการทำบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการทำนา เป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

พิธีกรรม
            บุญบั้งไฟ  หรือชาวบ้านชอบเรียกงาน บุญบั้งไฟ ว่าบุญเดือนหก จะเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาเทพยาดาอารักษ์หลักบ้านหลักเมือง เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข ให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล จะได้ทำให้พืชผลทางการเกษตร การทำไร ทำนาไดผลอุดมสมบูรณ์ และเพื่อบูชาพญาแถนผู้ให้ฝนตกอีกด้วย ซึ่งชาวบ้านคนไทยและ คนลาวมีความเชื่อว่าพญาแถนคือเทพเจ้าแห่งฝน การจุดบั้งไฟจึงเป็นการบูชาเทพเจ้าแห่งฝน บันดานให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  ตามความเชื่อมีเรื่องเล่าว่า  มีเทพนามว่า วัสสกาลเทพบุตร ประทับอยู่ ณ บนสวรรค์ซึ่งจะคอย ดูแลเรื่องน้ำฟ้า น้ำฝน ใครทำถูก ทำชอบ พระองค์ก็จะประทานน้ำฝนให้ ใครทำเรื่องที่ไม่ดี พระองค์ก็จะไม่ประทานน้ำฝนให้  และพระองค์ก็มีความ ชื่นชอบการบูชาด้วยไฟ จังเป็นเหตุให้คนไทยในภาคอีสาน มีการบูชาไฟด้วยการจุดบั้งไฟ จึงเป็นประเพณีที่ดีงามสืบทอด กันมารุ่นแล้ว รุ่นเล่าจนถึงทุกวันนี้
บั้งไฟ  เป็นการนำเอากัมมะถัน ประกอบด้วย ดินประสิวคั่วผสมกับถ่านตำให้ละเอียด แล้วจึงนำไปอัดแน่นในกระบอก


ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร

            งาน บุญบั้งไฟ ชาวบ้านจะทำการนัดหมายกัน โดยการทำบุญเลี้ยงพระเพล และประมาณ 3 โมงเย็นหรือ 15.00 น. โดยประมาณทางวัดก็จะตีกลองเป็นสัญญาณบอกให้ทุกคนได้รู้ว่างาน บุญบั้งไฟ ได้เริ่มแล้วให้นำบั้งไฟมารวมกันที่วัด แล้วเริ่มตั้งขบวนแห่โดยเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่ง เป็นจุดเริ่มต้นขบวนแห่ แล้วชาวบ้านก็จะช่วยกันนำรถบรรทุกใส่บั้งไฟ แห่เป็นขบวนไปรอบเมือง ในขบวนแห่ก็จะมีการแต่งตัว การแสดงในท่าทางต่าง ๆ เป็นการสร้างสีสรรให้กับงานแล้วนำบั้งไฟกลับไปที่วัดที่จัดการแข่งขันบั้งไฟ  ซึ่งบั้งไฟก็มีการแบ่งตามขนาดที่กำหนดโดยทั่วไปนิยมทำกันอยู่ 3 ขนาดคือ บั้งไฟธรรมดา บรรจุดินปืนไม่เกิน 12 กิโลกรัม บั้งไปหมื่นบรรจุดินปืนเกิน 12 กิโลกรัม และบั้งไฟแสน บรรจุดินดินปืนถึงขนาด 120 กิโลกรัม ในความเชื่อถ้าบั้งไฟขึ้นสูงนั่นก็หมายความว่าฝนฟ้า ข้าวปลา อาหารก็จะอุดมสมบูรณ์ดี แต่ถ้าบั้งไฟแตกหรือไม่ขั้นก็หมายความ ว่าฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูเป็นต้น

สาระ
            1. เป็นการตักเตือนให้รู้ว่าธรรมชาติเป็นสิ่งไม่แน่นอน เกษตรกรไม่ควรประมาท
            2. เป็นงานประเพณีที่สร้างความสนุกสนาน และความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน
            3. กิจกรรมการเซิ้ง สอนให้คนในสังคมรู้จักการบริจาคทาน และการเสียสละ
            4. เป็นงานประเพณีที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวจังหวัดยโสธร

 แหล่งที่มา  http://blog.eduzones.com/eve123/3509

ประเพณีภาคใต้


ประเพณีภาคใต้


ประเพณีลอยเรือ
ความสำคัญ
ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิมของชาวอูรักลาโวย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสมาชิกในชุมชนและญาติพี่น้องที่แยกย้ายถิ่นไปทำมาหากิน ในแถบทะเล และหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลอันดามันจะพากันเดินทางกลับมายังถิ่นฐาน เพื่อประกอบพิธีนี้

พิธีกรรม
ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ ช่วงเช้า ชาวเลจะเดินทางไปบริเวณที่จะทำพิธี ผู้หญิงจะทำขนม ผู้ชายจะสร้างและซ่อมแซมที่พักชั่วคราว ช่วงเย็น ทั้งหญิงและชายจะไปรวมกันที่ศาลบรรพบุรุษเพื่อนำอาหารเครื่องเซ่นไปเซ่นไหว้ บรรพบุรุษเป็นการบอกกล่าวให้มาร่วมพิธีลอยเรือ
เช้าของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งเดินทางไปตัดไม้ เพื่อนำไม้มาทำเรือผู้หญิงจะร้องรำทำเพลง ในขณะที่รอรับไม้บริเวณชายฝั่ง แล้วขบวนแห่จะแห่ไม้ไปวนรอบศาลบรรพบุรุษเพื่อนำกลับมาทำเรือ "ปลาจั๊ก" คืนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ มีพิธีฉลองเรือโดยมีการรำรอบเรือ เพื่อถวายวิญญาณบรรพบุรุษโดยใช้ดนตรีและเพลงรำมะนาประกอบวงหนึ่งและอีกวงจะ เป็นการรำวงแบบสมัยใหม่มีดนตรีชาโดว์ประกอบการร้องรำ โต๊ะหมอจะทำพิธีในช่วงเริ่มฉลองเรือและมีพิธีสาดน้ำตอนเที่ยงคืน (เลฮฺบาเลฮฺ) และทำพิธีอีกครั้งในช่วงเช้าตรู่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ ก่อนนำเรือไปลอยในทิศทางลมซึ่งแน่ใจว่าเรือจะไม่ลอยกลับเข้าฝั่ง หลังจากนั้นแยกย้ายกันนอนพักผ่อน บ่ายวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งแยกย้ายไปตัดไม้และหาใบกะพร้อเพื่อทำไม้กันผีสำหรับทำพิธี ฉลองในเวลากลางคืน โดยมีพิธีกรรมเหมือนกับพิธีฉลองเรือทุกประการ จนกระทั่งใกล้จะสว่างโต๊ะหมอจะทำพิธีเสกน้ำมนต์ทำนายโชคชะตา และสะเดาะเคราะห์ให้สมาชิกที่เข้าร่วมพิธีก่อนจะอาบน้ำมนต์ และแยกย้ายกันกลับบ้านโดยนำไม้กันผีไปปักบริเวณรอบหมู่บ้านด้วย

ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษอันเกี่ยว เนื่องกับตำนานความเชื่อความเป็นมาและวิถีชีวิตทุกอย่างของชาวเลอูรักลาโวย การจัดพิธีฉลองเรือก็เพื่อการสะเดาะเคราะห์ ส่งวิญญาณกลับสู่บ้านเมืองเดิม และการส่งสัตว์ไปไถ่บาป
เรือปลาจั๊กที่ทำขึ้นในพิธีลอยเรือ ทำจากไม้ตีนเป็ดและไม้ระกำเป็นสัญลักษณ์ของ "ยาน" ที่จะนำวิญญาณของคนและสัตว์ไปสู่อีกภพหนึ่ง มีชิ้นไม้ระกำที่สลักเสลาอย่างสวยงามเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ประดับประดาอยู่ในเรือ รูปนกเกาะหัวเรือ หมายถึง "โต๊ะบุหรง" บรรพบุรุษผู้ซึ่งสามารถห้ามลมห้ามฝน ลายฟันปลา หมายถึง "โต๊ะบิกง" บรรพบุรุษที่เป็นฉลาม ลายงูหมายถึง "โต๊ะอาโฆะเบอราไตย" บรรพบุรุษที่เป็นงู ฯลฯ ในเรือยังมีตุ๊กตาไม้ระกำทำหน้าที่นำเคราะห์โศกโรคภัยของสมาชิกในแต่ละครอบ ครัวเดินทางไปกับเรือและเครื่องเซ่นต่าง ๆ ที่จะให้วิญญาณบรรพบุรุษนำติดตัวไปยังถิ่นฐานเดิมที่เรียกว่า "ฆูนุงฌึไร"
การร่ายรำแบบดั้งเดิมผสมผสานกับบทเพลงเก่าแก่และดนตรีรำมะนา เป็นส่วนประกอบที่เร้าใจและเป็นการรำถวายต่อบรรพบุรุษ ทุกคนที่รำเชื่อว่าจะได้บุญ
โต๊ะหมอผู้นำทั้งทางโลกและทางธรรม เชื่อว่าเป็นผู้ที่สามารถสื่อสารกับพระผู้เป็นเจ้าและวิญญาณบรรพบุรุษได้ ผู้ที่ผ่านพิธีลอยเรือถือว่าจะเป็นผู้ที่ผ่านทุกข์โศกโรคภัยไปหมดแล้ว ชีวิตต่อไปข้างหน้าจะประสบแต่ความสุขและโชคดีในการทำมาหากิน


งานประเพณีแห่พระแข่งเรือ
ความสำคัญ
งานประเพณีแห่พระแข่งเรือ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น โดยเฉพาะการขึ้นโขนชิงธง ที่นายท้ายเรือต้องถือท้ายเรือให้ตรงเพื่อให้นายหัวเรือคว้าธงที่ทุ่นเส้น ชัย โดยการขึ้นโขนเรือ

พิธีกรรม
การแข่งเรือของอำเภอหลังสวนเริ่มมีครั้งแรกในสมัยพระยาจรูญราชโภคากร เป็นเจ้าเมืองหลังสวน เมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีเศษ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นการลากพระชิงสายกันในแม่น้ำ โดยใช้เรือพายเป็นเรือดึงลากแย่งกัน วัด หรือหมู่บ้านใดมีเรือมากฝีพายดี ก็แย่งพระไปได้ อัญเชิญพระไปประดิษฐานไว้ในวัดที่ตนต้องการ มีงานสมโภชอย่างสนุกสนานในตอนกลางคืน รุ่งเช้าถวายสลากภัต
ต่อมาสมัยหลวงปราณีประชาชน อำมาตย์เอก ได้ดัดแปลงให้มีสัญญาณในการปล่อยเรือโดยใช้เชือกผูกหางเรือคู่ที่จะแข่ง ให้เรือถูกพายไปจนตึงแล้วใช้มีดสับเชือกที่ผูกไว้ให้ขาด
ลักษณะของเรือที่ใช้แข่งในปัจจุบันขุดจากไม้ซุง (ตะเคียน) ทั้งต้น ยาวประมาณ ๑๘-๑๙ เมตร มีธงประจำเรือติดอยู่ เรือแข่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ฝีพาย ๓๐ คน และฝีพาย ๓๒ คน ฝีพายจะนั่งกันเป็นคู่ ยกเว้นนายหัวกับนายท้าย เรือแต่ละลำจะมีฆ้องหรือนกหวีดเพื่อตีหรือเป่าให้จังหวะฝีพายได้พายอย่าง พร้อมเพรียงกัน
รางวัลสำหรับการแข่งขันในสมัยก่อน เรือที่ชนะจะได้รับผ้าแถบหัวเรือ ส่วนฝีพายจะได้รับผ้าขาวม้าคนละผืน ต่อมาเป็นการแข่งขันชิงน้ำมันก๊าด เพื่อนำไปถวายวัด เพราะเรือส่วนใหญ่เป็นเรือของวัด และตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นต้นมา เป็นการแข่งขันเพื่อชิงโล่พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กติกาการปล่อยเรือและการเข้าเส้นชัยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการณ์ เช่น ในปัจจุบันมีการแบ่งสายน้ำโดยการจับสลาก กำหนดระยะทางที่แน่นอน คือ ๕๐๐ เมตร มีเรือเข้าร่วมแข่งขันทั้งเรือในท้องถิ่นจังหวัดชุมพรเอง และเรือจากต่างจังหวัด สถานที่คือวัดด่านประชากร

สาระ
แสดงถึงความสามัคคีและความพร้อมเพรียงที่แสดงออกในรูปของการกีฬา และเป็นการสืบทอดประเพณีอันยาวนานของท้องถิ่น


ประเพณีขึ้นถ้ำวัดถ้ำเขาขุนกระทิง
ความสำคัญ
ประเพณีขึ้นถ้ำเป็นประเพณีที่มีการสืบทอดกันมาแต่อดีต นิยมจัดขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรด้วยมีความเชื่อว่าการทำนาหรือ กิจกรรมการเกษตรที่ประสบความสำเร็จได้เกิดจากการดลบันดาลของสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย การขึ้นถ้ำจึงเป็นพิธีกรรมใช้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมักเป็นพระพุทธรูปของวัดเพื่อแสดงความกตัญญูและเป็นนิมิตรหมายที่ดีให้ แก่ชีวิต

พิธีกรรม
เปิดให้มีการสักการะ และปิดทองพระพุทธรูปภายในถ้ำ โดยทางวัดจัดบริการจำหน่ายดอกไม้ ธูป เทียน เพื่อหารายได้ให้วัด อาจมีการจัดมโหสพ เช่น มโนราห์ ควายชน การละเล่นพื้นเมือง และร้านค้าจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ

สาระ
การนมัสการขึ้นถ้ำปิดทองเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบเนื่องทุกปีเช่นเดียว กับ กิจกรรมตามเทศกาลอื่น ๆ แต่เป็นการเปิดโอกาสให้คนได้ร่วมทำบุญ และหารายได้ให้วัดเพื่อใช้จ่ายใน กิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตลอดไป


ถือศีลกินเจ
ช่วงเวลา
การถือศีลกินเจของชาวตรังตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึง ๙ ค่ำ เดือน ๙ ของจีน (ตรงกับเดือน ๑๑ ของไทย ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมทุกปี) โรงศาลเจ้าทุกโรงจะกำหนดการกินเจพร้อมกัน การประกอบพิธีกรรมจะใช้สถานที่บริเวณโรงศาลเจ้าของแต่ละแห่ง

ความสำคัญ
พิธีถือศีลกินเจจะเป็นพิธีที่มีความสำคัญดังนี้
๑. เป็นการบำเพ็ญศีล สมาทานกินเจ บริโภคแต่อาหารผักและผลไม้ เป็นการละเว้นการทำบาป ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต รักษาศีลทำจิตใจให้บริสุทธิ์ งดการเที่ยวเตร่ ไม่ดื่มของมึนเมา ผู้ศรัทธาที่กินเจจะสวมเสื้อผ้าสีขาวและสวดมนต์ทำสมาธิภาวนาแผ่เมตตาจิต ขอพรให้ตนเองและครอบครัว
๒. เป็นการสะเดาะเคราะห์ปัดเป่าความชั่วร้าย โรคภัยไข้เจ็บให้ออกไปจากตัวผู้ที่ถือศีลกินเจ
๓. เกิดความสามัคคีในหมู่ผู้ที่ศรัทธาที่เข้าร่วมพิธีถือศีลกินเจ ต่างก็ยิ้มแย้มเป็นมิตรมีไมตรีต่อกัน มีการบริจาคทรัพย์สำหรับเป็นค่าอาหารและค่าใช้จ่ายในโรงครัว เพื่อให้มีอาหารเพียงพอ มีอาสาสมัครมาช่วยงานทำงานครัวเป็นจำนวนมาก
พิธีกรรม
ประเพณีถือศีลกินเจเป็นประเพณีที่มีการผสมผสานของลัทธิความเชื่อต่าง ๆ หลายลัทธิ ได้แก่ ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื่อ ลัทธิการนับถือเทวะ และพุทธศาสนานิกายมหายาน
การประกอบพิธีกรรม
๑. ก่อนพิธีหนึ่งวัน จะมีการทำความสะอาดศาลเจ้า รมกำยาน ไม้หอม และยกเสาธงเต๊งโก ไว้หน้าศาล เพื่ออัญเชิญดวงวิญญาณของเจ้า พอถึงเวลาเที่ยงคืนจะประกอบพิธีอัญเชิญยกอ๋องฮ่องเต้ และกิวอ๋องไตเต้มาเป็นประธานในพิธี พร้อมกับแขวนตะเกียงน้ำ ๙ ดวง ซึ่งหมายถึงดวงวิญาณขององค์กิวอ๋องไตเต้ เป็นอันว่าพิธีกินเจได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว หลังจากพิธีรับเจ้าเข้ามาเป็นประธานในศาลแล้ว ก็จะทำพิธีวางกำลังทหารรักษาการณ์ตามทิศต่าง ๆ
๒. การเตรียมการกินเจ ผู้ศรัทธาที่จะร่วมถิอศีลกินเจจะทำความสะอาดภาชนะเครื่องใช้ในการประกอบ อาหารให้สะอาดหมดกลิ่นคาว จัดแยกเครื่องใช้ไว้เฉพาะไม่ปะปนกับเครื่องใช้ทั่วไป บางบ้านจะนำภาชนะชุดใหม่มาประกอบอาหารและใส่อาหารเจ บางบ้านจะรับอาหารจากโรงปรุงของศาลเจ้า
๓. พิธีกรรมตลอด ๙ วัน ของการกินเจ มีดังนี้
๓.๑ พิธีบูชาเจ้า ทำในวันแรก บูชาด้วยเครื่องเซ่นต่าง ๆ ทั้งที่ศาลเจ้า และที่บ้านของผู้ที่กินเจ เมื่อกินเจครบสามวัน ถือว่าผู้กินเจได้ชำระร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ได้สะอาดบริสุทธิ์
๓.๒ พิธีโขกุ้น เป็นพิธีเลี้ยงทหารที่รักษาการณ์ตามทิศต่าง ๆ จะทำพิธีในวัน ๓ ค่ำ ๖ ค่ำ และ ๙ ค่ำ มีอาหารและเหล้าเซ่นสังเวยเลี้ยงทหาร
๓.๓ พิธีซ้องเก็ง เป็นพิธีการสวดมนต์ พิธีนี้จะเริ่มตั้งแต่องค์กิวอ๋องไตเต้ เข้ามาประทับในศาลและจะกระทำกันทุก ๆ วันวันละ ๒ ครั้ง ในตอนเช้าและตอนค่ำ
๓.๔ พิธีบูชาดาว จะทำในคืนวัน ๗ ค่ำเพื่อขอความคุ้มครองให้แก่ผู้กินเจ ในพิธีบูชาดาว จะมีการแจกฮู้ (กระดาษยันต์) เพื่อคุ้มครองผู้กินเจ
๓.๕ พิธีแห่เจ้า (ออกเที่ยว) เป็นพิธีที่เจ้าทั้งหมดออกเยี่ยมลูกหลานตามบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคลและปัดเป่าความชั่วร้าย ศาลเจ้าแต่ละโรงจะออกเยี่ยมไม่พร้อมกัน พิธีนี้จะจัดเป็นริ้วขบวน แห่แหนไปตามถนนสายต่าง ๆ บรรดาชาวบ้านที่จะศรัทธาจะตั้งโต๊ะเครื่องเซ่นไหว้ไว้รับพระและจุดประทัด เมื่อขบวนผ่าน เจ้าองค์ที่เข้าประทับทรงจะแสดงอิทธิฤทธิ์อภินิหารโดยใช้ของมีคม เหล็กแหลม ทิ่มแทงตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
๓.๖ พิธีลุยไฟ เพื่อแสดงอิทธิฤทธิ์ของเจ้า จึงมีการก่อกองไฟให้เป็นถ่านแดงระอุร้อน เจ้าที่เข้าประทับคนทรงจะเข้าไปวิ่งลุยผ่านกองไฟ เพื่อแสดงให้เห็นความบริสุทธิ์และอิทธิฤทธิ์ ผู้ที่ถือศีลกินเจก็จะเข้าไปลุยไฟด้วยเพื่อให้ไฟทิพย์ชำระร่างกายให้ บริสุทธิ์
๓.๗ พิธีส่งพระ ทำกันในวันสุดท้ายของการกินเจ พิธีนี้แบ่งออกเป็น ๒ ภาค คือภาคกลางวันจะส่งเทวดาเง็กเซียนฮ่องเต้ ซึ่งทำกันที่เสาธง และภาคกลางคืนจะส่งองค์กิวอ๋องไตเต้ ซึ่งจะทำกันตอนเที่ยงคืน โดยผู้กินเจจะเดินไปส่งกันที่ฝั่งน้ำเพราะเจ้าจะกลับสวรรค์ทางทะเล และทันทีที่คณะส่งเจ้าออกพ้นประตูศาลไฟทุกดวงจะต้องดับสนิท แล้วปิดประตูใหญ่ รุ่งขึ้นจะลดเสาธง เรียกทหารพร้อมกับเลี้ยงทหารและส่งกลับ เสร็จแล้วก็เปิดประตูใหญ่เมื่อได้ฤกษ์ตามวัน/เวลาที่เจ้าสั่งไว้

สาระ
พิธีกินเจ เป็นพิธีที่แสดงออกถึงการละเว้นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และเว้นอบายมุขทั้งหมด และเป็นพิธีก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่สมาชิกที่มาร่วมพิธี


ประเพณีอาบน้ำคนแก่
ช่วงเวลา
ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ เดือนเมษายน (เดือน ๕) ของทุกปี ซึ่งจะเลือกทำวันไหนก็ได้ จะเป็นตอนเช้า หรือตอนบ่ายเป็นไปตามการนัดหมายของแต่ละครอบครัว แต่ละบ้านโดยนัดหมายสถานที่และวันเวลาไว้ล่วงหน้าเป็นประจำทุกปี ซึ่งอาจเป็นที่บ้านหรือที่วัดก็ได้ตามความเหมาะสม
ความสำคัญ
ประเพณีอาบน้ำคนแก่เป็นวิธีการแสดงออกซึ่งความเคารพนับถือ แก่บิดามารดา และญาติคนแก่ (ผู้อาวุโส) ของตระกูล รวมทั้งผู้มีพระคุณและบุคคลที่ตนเคารพนับถือ

พิธีกรรม
๑. การขอขมา
เมื่อเชิญคนแก่ทั้งหลายนั่งในโรงพิธีเรียบร้อยแล้ว ลูกหลานและชาวบ้านที่มาร่วมพิธี จะรวมกลุ่มยืนอยู่ด้านหน้าของคนแก่ทั้งหลาย ผู้นำในพิธีนำดอกไม้และจุดธูปเทียนพนมมือ แล้วกล่าวขอขมา ทุกคนว่าตามดังนี้
"กายกรรมสาม วจีกรรมสี่ มโนกรรมสาม หากข้าพเจ้าทั้งหลายเกิดประมาทพลาดพลั้งแก่ท่าน ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ไม่เจตนาก็ดี ขอให้ท่านอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด และขอได้โปรดอำนวยพรให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย มีความสุขความเจริญตลอดไป และขอตั้งจิตอธิษฐานขอให้ท่านเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดไป
๒. พิธีการอาบน้ำ
การอาบน้ำเป็นการตักน้ำมารดอาบให้คนแก่จนเปียกโชกทั้งตัว ปัจจุบันบางหมู่บ้านได้ปรับเปลี่ยนวิธีการในการอาบน้ำ มารดน้ำที่มือทั้งสองของคนแก่แทนเพราะคนแก่ที่มีอายุมาก มีลูกหลานและผู้ที่เคารพนับถือมาก พิธีการอาบน้ำต้องใช้เวลานานจึงแล้วเสร็จ คนแก่เหล่านั้นอาจรู้สึกหนาวสะท้าน ซึ่งเป็นเหตุให้เจ็บป่วยเป็นไข้ได้
ลูกหลานจะเข้าแถวตักน้ำที่เตรียมไว้ในโอ่ง มารดที่มือหรือที่ตัวคนแก่ และมอบเครื่องนุ่งห่มเครื่องใช้ให้คนแก่พร้อมกับขอพร คนแก่ก็จะให้พรลูกหลาน การอาบน้ำจะทำไปตามลำดับจนครบทุกคน
เมื่อเสร็จพิธี ลูกหลานจะนำเสื้อผ้าชุดใหม่มาผลัดเปลี่ยนให้คนแก่ ทาแป้ง หวีผม แต่งตัวให้ เป็นอันเสร็จพิธีการอาบน้ำ

สาระ
ประเพณีอาบน้ำคนแก่ เป็นภูมิปัญญาในการเชื่อมสายใยของครอบครัวให้สาระสำคัญหลายประการคือ
๑. เป็นประเพณีที่มีบทบาทในการควบคุมคนในสังคมให้วางตนให้เหมาะสมตามฐานะของคน คือเมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็ต้องเป็นผู้ใหญ่ที่ดีเพื่อให้คนเคารพนับถือ เมื่อเป็นผู้น้อยก็ต้องแสดงความเคารพ และมีความกตัญญูต่อผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ
๒. เป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ซึ่งได้แก่ คนแก่ในตระกูล บิดามารดา ตลอดจนผู้ที่ตนเคารพนับถือทั้งหลาย
๓. เกิดความผูกพันในวงศาคณาญาติ สร้างความสนิทสนมกลมเกลียวรักใคร่กันในตระกูลยิ่งขึ้น การพบปะกันในระหว่างญาติพี่น้อง สร้างความอบอุ่นปลาบปลื้มใจให้แก่คนแก่ของตระกูลที่ได้เห็นความเป็นปึกแผ่น ของลูกหลาน

ประเพณีให้ทานไฟ
ช่วงเวลา
การให้ทานไฟ ส่วนใหญ่จะปฏิบัติในช่วงเดือนยี่ เป็นช่วงเวลาที่อากาศหนาวเย็นที่สุด โดยชาวบ้านจะนัดหมายไปพร้อมกันในเวลาย่ำรุ่ง หรือตอนเช้ามืดของวันไหนก็ได้
ความสำคัญ
การให้ทานไฟ เป็นการทำบุญเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์เกิดความอบอุ่นในตอนเช้ามืดของคืนที่มี อากาศหนาวเย็น โดยใช้ลานวัดเป็นที่ก่อกองไฟแล้วทำขนมถวายพระ
ประวัติความเป็นมาของประเพณีให้ทานไฟ กล่าวถึงในขุนทกนิกายชาดก เรื่อง ความตระหนี่ถี่เหนียวของโกลิยะเศรษฐี ที่อยากกินขนมเบื้อง แต่เสียดายเงินไม่ยอมซื้อและไม่อยากให้ลูกเมียได้กินด้วย ภรรยาจึงทำขนมเบื้องที่บ้านชั้นเจ็ดให้เศรษฐีได้รับประทานโดยไม่ให้ผู้ใด เห็น ขณะที่สองสามีภรรยากำลังปรุงขนมเบื้อง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหาร ทรงทราบด้วยญาณ จึงโปรดให้พระโมคคัลลานะไปแก้นิสัยของโกลิยะเศรษฐี พระโมคคัคลานะตรงไปบนตึกชั้นเจ็ดของคฤหาสน์เศรษฐี เศรษฐีเข้าใจว่าจะมาขอขนม จึงแสดงอาการรังเกียจและออกวาจาขับไล่ แต่พระโมคคัคลานะพยายามทรมานเศรษฐีอยู่นานจนยอมละนิสัยตระหนี่ พระโมคคัลลานะได้แสดงธรรมเรื่องประโยชน์ของการให้ จนโกลิยะเศรษฐีและภรรยาเกิดความเลื่อมใส ได้นิมนต์มารับถวายอาหารที่บ้านตน พระโมคคัลลานะแจ้งให้นำไปถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวก ๕๐๐ รูป ณ เชตวันมหาวิหาร โกลิยะเศรษฐีและภรรบาได้นำเข้าของเครื่องปรุงไปทำขนมเบื้องถวายพระพุทธเจ้า และพระสาวก แต่ปรุงเท่าไหร่แป้งที่เตรียมมาเพียงเล็กน้อยก็ไม่หมด พระพุทธเจ้าจึงโปรดเทศนาสั่งสอน ทั้งสองคนเกิดความปีติอิ่มเอิบในการบริจาคทาน เห็นแจ้งบรรลุธรรมชั้นโสดาบัน

พิธีกรรม
๑. การก่อกองไฟ ชาวบ้านจะเตรียมไม้ฟืน ถ่าน หรือเตาไฟ สำหรับก่อให้เกิดความร้อนและความอบอุ่นแก่พระสงฆ์ บางแห่งนิยมใช้ไม้ฟืนหลายอันมาซ้อนกันเป็นเพิงก่อไฟ แล้วนิมนต์พระสงฆ์มานั่งผิงไฟ เพื่อให้เกิดความอบอุ่นทั้งพระสงฆ์และชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียง
๒. การทำขนมถวายพระ ขนมที่เตรียมไปปรุงที่วัดในการให้ทานไฟเป็นขนมอะไรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมขนมที่สามารถปรุงเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว ขนมส่วนมากจะปรุงโดยใช้ไฟแรงและเป็นขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมเบื้อง ขนมครก ขนมครกข้าวเหนียว ข้าวเกรียบปากหม้อ ขนมโค ขนมพิมพ์ ขนมจาก ชนมจู่จุน ข้าวเหนียวกวนทอด ในปัจจุบันมีขนมและอาหารเพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่น น้ำชา กาแฟ หมี่ผัด ข้าวต้ม ข้าวเหนียวหลาม ขนมปังปิ้ง ชาวบ้านจะปรุงขนมตามที่เตรียมเครื่องปรุงมา แล้วนำขนมที่ปรุงขึ้นมาร้อน ๆ ไปถวายพระสงฆ์ ขณะที่ทำขนมกันไป พระสงฆ์ก็ฉันไปพร้อม ๆ กัน จะหยุดปรุงขนมก็ต่อเมื่อเครื่องปรุงที่เตรียมมาหมด เมื่อพระสงฆ์ฉันอิ่มแล้ว ชาวบ้านจึงร่วมกันรับประทานกันอย่างสนุกสนาน หลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว ก็สวดให้ศีลให้พรแก่ผู้ที่มาทำบุญเป็นอันเสร็จพิธี

สาระ
ประเพณีให้ทานไฟมีสาระสำคัญที่มีคุณค่าแก่ตนเองและสังคม ดังนี้
๑. เป็นโอกาสหนึ่งที่ได้นัดหมายพร้อมกันในตอนเช้ามืด เพื่อร่วมทำบุญเลี้ยงพระ รวมทั้งร่วมรับประทานอาหารกัน เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะได้ดียิ่ง
๒. ทำให้มีสุขภาพพลานามัยดี แข็งแรง เพราะการตื่นนอนตอนเช้าตรู่ ได้รับอากาศบริสุทธิ์ ทำให้มีความสดชื่นเบิกบาน
๓. การได้ปฏิบัติตามประเพณี ย่อมทำให้เกิดความสุขใจ เบิกบานใจในผลบุญที่ตนได้กระทำ อีกทั้งยังเป็นแบบอย่างแก่ลูกหลานของตนด้วย


ประเพณีลากพระ (ชักพระ)
ช่วงเวลา
วันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงลากพระกลับวัด
ความสำคัญ
เป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน

พิธีกรรม
๑. การแต่งนมพระ
นมพระ หมายถึงพนมพระเป็นพาหนะที่ใช้บรรทุกพระลาก นิยมทำ ๒ แบบ คือ ลากพระทางบก เรียกว่า นมพระ ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระ" นมพระสร้างเป็นร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับข้างล่าง ทำเป็นรูปพญานาค มีล้อ ๔ ล้ออยู่ใต้ตัวพญานาค ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง ตกแต่งลวดลายระบายสีสวย รอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี ธงริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อยระยาง ประดับต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้สดทำอุบะห้อยระย้า มีต้มห่อด้วยใบพ้อแขวนหน้านมพระ ตัวพญานาคประดับกระจกแวววาวสีสวย ข้าง ๆ นมพระแขวนโพน กลอง ระฆัง ฆ้อง ด้านหลังนมพระวางเก้าอี้ เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ยอดนมอยู่บนสุดของนมพระ ได้รับการแต่งอย่างบรรจงดูแลเป็นพิเศษ เพราะความสง่าได้สัดส่วนของนมพระขึ้นอยู่กับยอดนม
๒. การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ
พระลาก คือพระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยมคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระลากเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนนมพระ แล้วพระสงฆ์จะเทศนาเรื่องการเสด็จไปดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า ตอนเช้ามืดในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ชาวบ้านจะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า ตักบาตรหน้าล้อ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ ในตอนนี้บางวัดจะทำพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อให้การลากพระราบรื่น ปลอดภัย
๓. การลากพระ
ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น ๒ สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน (ปืด) ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะเร้าใจในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง
ตัวอย่าง บทร้องที่ใช้ลากพระสร้อย :
อี้สาระพา เฮโล เฮโล
ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมสาวสาว
ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ

สาระ
ประเพณีลากพระ เป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีพร้อมใจกันในการทำบุญทำทาน จึงให้สาระและความสำคัญดังนี้
๑. ชาวบ้านเชื่อว่า อานิสงส์ในการลากพระ จะทำให้ฝนตกตามฤดูกาล เกิดคติความเชื่อว่า "เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก" นมพระจึงสร้างสัญลักษณ์พญานาค เพราะเชื่อว่าให้น้ำ การลากพระจึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตร
๒. เป็นประเพณีที่ปฏิบัติตามความเชื่อว่า ใครได้ลากพระทุกปี จะได้บุญมาก ส่งผลให้พบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้นเมื่อนมพระลากผ่านหน้าบ้านของใคร คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยลากพระ และคนบ้านอื่นจะมารับทอดลากพระต่ออย่างไม่ขาดสาย
๓. เกิดแรงบันดาลใจ แต่งบทร้อยกรองสำหรับขับร้องในขณะที่ช่วยกันลากพระ ซึ่งมักจะเป็นบทกลอนสั้น ๆ ตลก ขบขัน และโต้ตอบกัน ได้ฝึกทั้งปัญญาและปฏิภาณไหวพริบ

ประเพณีตักบาตรธูปเทียน
ช่วงเวลา
ระยะเวลาของการประกอบพิธีตักบาตรธูปเทียนมีขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำเดือนแปด เวลาประมาณ ๑๖ นาฬิกา ใช้ลานภายในวัดเป็นสถานที่ตักบาตรธูปเทียน

ความสำคัญ
เป็นการทำบุญด้วยธูปเทียนและดอกไม้ เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาเพื่อให้พระสงฆ์ที่จำพรรษา ได้นำธูปเทียนใช้บูชาพระรัตนตรัยตลอดพรรษา ๓ เดือน

พิธีกรรม
วันประกอบพิธีตักบาตรธูปเทียน เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มพิธีเข้าพรรษา พิธีการตักบาตรธูปเทียนจึงเริ่มในตอนบ่าย โดยพระภิกษุสงฆ์และสามเณร ต่างพากันมายืนเรียงแถวในบริเวณลานวัด โดยมีย่ามคล้องแขนทุกรูป เพื่อเตรียมบิณฑบาต เมื่อถึงเวลาบ่ายประมาณ ๑๖ นาฬิกา พุทธศาสนิกชนจะนำธูปเทียน ไม้ขีดไฟ และดอกไม้ มาใส่ย่ามถวายพระสงฆ์เป็นอันเสร็จพิธี
สาระ
ความศรัทธาในพระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อประเพณีตักบาตรธูปเทียน เป็นประเพณีที่ควรแก่การส่งเสริมให้คงอยู่ การตักบาตรธูปเทียนให้สาระสำคัญดังนี้
๑. สะท้อนให้เห็นถึงความยึดมั่นและศรัทธาในการนับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงามควรรักษาประเพณีไว้สืบไป ชาวนครศรีธรรมราชจึงเตรียมมัดธูป ๓ ดอกและเทียน ๑ เล่มไว้ด้วยกัน เพื่อสะดวกในการตักบาตร แต่คนส่วนใหญ่จะใช้ธูปและเทียนมัดใหญ่ เพื่อให้พระสงฆ์มีธูปเทียนใช้ตลอดพรรษา และสิ่งที่ขาดเสียไม่ได้คือไม้ขีดไฟ เป็นของเสริม เพื่อให้พระสงฆ์มีอุปกรณ์ครบ รวมทั้งดอกไม้สดชนิดต่าง ๆ
๒. เป็นการอบรมให้ลูกหลานที่ไปร่วมพิธีตักบาตรธูปเทียนได้มีความรู้ความเข้าใจ ในประเพณีท้องถิ่น และให้ความสุขใจจากบุญกุศลที่ได้ทำ


ประเพณีสารทเดือนสิบ
ช่วงเวลา
ระยะเวลาของการประกอบพิธีสารทเดือนสิบมีขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำถึงแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ แต่วันที่ชาวนครศรีธรรมราชนิยมทำบุญคือวันแรม ๑๓-๑๕ ค่ำ

ความสำคัญ
เป็นความเชื่อของพุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราช ที่เชื่อว่าบรรพบุรุษอันได้แก่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำความชั่วจะตกนรกกลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้แต่ละปีมายังชีพ ดังนั้นในวันแรม ๑ ค่ำเดือนสิบ คนบาปทั้งหลายที่เรียกว่าเปรตจึงถูกปล่อยตัวกลับมายังโลกมนุษย์เพื่อมาขอ ส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง และจะกลับไปนรกในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ
ในโอกาสนี้เองลูกหลานและผู้ยังมีชีวิตอยู่จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที

พิธีกรรม
พิธีกรรมของประเพณีสารทเดือนสิบ มีดังนี้
๑. การจัดหฺมฺรับ
เริ่มในวันแรม ๑๓ ค่ำ ชาวบ้านจะเตรียมซื้ออาหารแห้ง พืชผักที่เก็บไว้ได้นาน ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และขนมที่เป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ จัดเตรียมใส่หฺมฺรับ
การจัดหฺมฺรับ คือ การบรรจุและประดับด้วยสิ่งของ อาหาร ขนมเดือนสิบลงในภาชนะที่เตรียมไว้ เช่น ถาด กาละมัง เข่ง กระเชอ เป็นต้น ชั้นล่างสุดบรรจุอาหารแห้ง ชั้นสองเป็นพืชผักที่เก็บไว้นาน ชั้นสามเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน ขั้นบนสุด ประดับขนมสัญลักษณ์เดือนสิบ ได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมแต่ละชนิดมีความหมายดังนี้
ขนมลา เป็นเสมือนเสื้อผ้าที่ให้บรรพบุรุษใช้นุ่งห่ม
ขนมพอง เป็นเสมือนแพที่ให้บรรพบุรุษข้ามห้วงมหรรณพ
ขนมกง เป็นเสมือนเครื่องประดับ ใช้ตกแต่งร่างกาย
ขนมบ้า เป็นเสมือนเมล็ดสะบ้า ไว้เล่นในวันตรุษสงกรานต์
ขนมดีซำ เป็นเสมือนเงินตรา ไว้ให้ใช้สอย
๒. การยกหฺมฺรับ
ในวันแรม ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ ชาวบ้านจะยกหฺมฺรับที่จัดเตรียมไว้ไปวัด และนำภัตตาหารไปถวายพระด้วย โดยเลือกไปวัดที่อยู่ใกล้บ้านหรือวัดที่บรรพบุรุษของตนนิยมไป
๓. การฉลองหฺมฺรับและบังสุกุล
เมื่อนำหมฺรับไปวัดแล้ว จะมีการฉลองหฺมฺรับ และทำบุญเลี้ยงพระเสร็จแล้วจึงมีการบังสุกุล การทำบุญวันนี้เป็นการส่งบรรพบุรุษและญาติพี่น้องให้กลับไปยังเมืองนรก
๔. การตั้งเปรต
เสร็จจากการฉลองหมฺรับและถวายภัตตาหารแล้ว ชาวบ้านจะนำขนมอีกส่วนหนึ่งไปวางไว้ตามบริเวณลานวัด ข้างกำแพงวัด โคนไม้ใหญ่ เรียกว่า ตั้งเปรต เพื่อแผ่ส่วนกุศลเป็นทานแก่ผู้ล่วงลับที่ไม่มีญาติ หรือญาติไม่มาร่วมทำบุญให้ การชิงเปรตจะทำตอนตั้งเปรตเสร็จแล้ว เพราะเชื่อว่าถ้าหากใครได้กินของเหลือจากการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ จะได้รับกุศลเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
บางวัดนิยมสร้างหลาเปรต เพื่อสะดวกแก่การตั้งเปรต บางวัดสร้างหลาเปรตไว้บนเสาสูงเพียงเสาเดียว เกลาและชะโลมน้ำมันเสาจนลื่น เมื่อเวลาชิงเปรตผู้ชนะคือผู้ที่สามารถปีนไปถึงหลาเปรตซึ่งต้องใช้ความ พยายามอย่างมาก จึงสนุกสนานและตื่นเต้น

สาระ
ประเพณีสารทเดือนสิบมีสาระสำคัญหลายประการ ดังนี้
๑. เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ที่ได้อบรมเลี้ยงดูลูกหลาน เพื่อตอบแทนบุญคุณ ลูกหลานจึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้
๒. เป็นโอกาสได้รวมญาติที่อยู่ห่างไกล ได้พบปะทำบุญร่วมกันสร้างความรักใคร่สนิทสนมในหมู่ญาติ
๓. เป็นการทำบุญในโอกาสที่ได้รับผลผลิตทางการเกษตรที่เริ่มออกผลเพราะเชื่อว่าเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
๔. ฤดูฝนในภาคใต้จะเริ่มขึ้นในปลายเดือนสิบ พระภิกษุสงฆ์บิณฑบาตยากลำบาก ชาวบ้านจึงจัดเสบียงอาหารนำไปถวายพระในรูปของหฺมฺรับ ให้ทางวัดได้เก็บรักษาเป็นเสบียงสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในฤดูฝน


ประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย
ช่วงเวลา
ประเพณีการแข่งเรือกอและและเรือยาวด้วยฝีพายหน้าพระที่นั่ง ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในระหว่างวันที่ ๒๑-๒๕ กันยายน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์

ความสำคัญ
ในการเสด็จแปรพระราชฐานทุกครั้งจะทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในจังหวัดนราธิวาสและ จังหวัดใกล้เคียงทุกหมู่เหล่า ทรงวางโครงการน้อยใหญ่เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้มีความสงบสุข ร่มเย็นด้วยพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯประชาชนชาวจังหวัดนราธิวาสต่างเห็น พ้องต้องกันว่าสมควรจัดให้มีการแข่งขันเรือกอและอันเป็นประเพณีเก่าแก่ของ ชาวจังหวัดนราธิวาสถวายทอดพระเนตรเพื่อเทิดพระเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณอัน ล้นพ้นและเป็นการฟื้นฟูประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย หน้าพระที่นั่ง และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดการแข่งขันเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๙ อีกทั้งได้พระราชทานถ้วยรางวัลแก่ทีมเรือที่ชนะการแข่งขันด้วย

สาระ
การแข่งขันใช้เรือกอและระยะทาง ๖๕๐ เมตร ผู้ควบคุมลำละ ๑ คน จำนวนฝีพายรวมทั้งนายท้ายไม่เกินลำละ ๒๓ คน และมีฝีพายสำรองไม่เกินลำละ ๕ คน การเปลี่ยนตัวในแต่ละเที่ยวทำได้เที่ยวละไม่เกิน ๕ คน ทั้งนี้ให้ผู้ควบคุมทีมประจำเรือแจ้งให้คณะกรรมการปล่อยเรือทราบ เรือที่เข้าแข่งขันทุกลำต้องถึงจุดเริ่มต้น (จุดปล่อยเรือ) ก่อนเวลาที่กำหนดแข่งขันในรอบนั้น หากไปช้ากว่ากำหนดเกิน ๑๕ นาทีถือว่าสละสิทธิ์จะปรับแพ้ในรอบนั้นได้ ก่อนการได้ยินสัญญาณ ณ จุดเริ่มต้นฝีพายทุกคนยกพายให้พ้นผิวน้ำ ยกเว้นนายท้ายเรือให้ใช้พายคัดท้ายเรือบังคับเรือให้หยุดนิ่ง และจะต้องวิ่งในลู่ของตน หากวิ่งผิดลู่หรือสายน้ำถือว่าผิดกติกาให้ปรับเป็นแพ้ในเที่ยวนั้น เรือที่เข้าถึงเส้นชัยก่อนลำอื่นโดยถือหัวเรือสุดเป็นการชนะการแข่งขันใน เที่ยวนั้น การแข่งขันแบ่งเป็น ๔ รอบ รอบที่ ๑ และรอบที่ ๒ เป็นรอบคัดเลือก รอบที่ ๓ เป็นรอบรองชนะเลิศและรอบที่ ๔ เป็นรอบชิงชนะเลิศ

ชิงเปรต
ช่วงเวลา
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐

ความสำคัญ
"ชิงเปรต" เป็นประเพณีของภาคใต้ที่กระทำกันในวันสารท เดือน ๑๐ เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในสารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า การชิงเปรตที่ปฏิบัติกันในประเพณีสารทเดือน ๑๐ นี้ มีลักษณะคล้ายกับการทิ้งกระจาดของจีน แต่การทิ้งกระจาดของจีนมีเป้าหมายตรงกับการตั้งเปรต-ชิงเปรตเพียงบางส่วน เท่านั้น กล่าวคือการทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานให้แก่พวกผีไม่มีญาติ ส่วนการชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี(เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย นอกจากนี้วิธีการปฏิบัติในการทิ้งกระจาดและการชิงเปรตก็แตกต่างกันด้วย
ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรต แต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการทำบุญด้วยซ้ำไป เพราะชื่อว่าบุตรหลานของเปรตตนใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนนั้น เพียงแต่ว่าผู้ชิงต้องระมัดระวังในการที่อาหารหรือขนมที่ตั้งเปรตอาจตกหลาน ลงพื้น ซึ่งจะทำให้เกิดความสกปรกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น

พิธีกรรม
การตั้งเปรต และชิงเปรตจะกระทำกันในวันที่ยกหมรับไปวัด ไม่ว่าจะเป็นวันแรม ๑ ค่ำ หรือ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ ก็ตาม ผู้ตั้งเปรตจะนำอาหารอีกส่วนหนึ่งไปเพื่อการตั้งเปรตด้วย อาหารที่ใช้ตั้งเปรตนี้ส่วนมากเป็นอาหารที่บรรพบุรุษที่เป็นเปรตชอบอย่างละ นิดอย่างละหน่อย ขนมที่ไม่ขาดคือ ขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า ขนมเบซำ(ดีซำ) นอกจากขนมดังกล่าวแล้ว ยังมีของแห้งที่ใช้เป็นเสบียงกรังก็จัดฝากไปด้วย เช่น ข้าวสาร หอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล น้ำปลา กล้วย อ้อย มะพร้าว ด้าย เข็มเย็บผ้า ธูปเทียน นำลงจัดในหมรับ โดยเอาของแห้งรองก้นและอยู่ภายใน ส่วนขนมทั้งหลายอยู่ชั้นนอก ปิดคลุมด้วยผืนลาทำเป็นรูปเจดีย์ยอดแหลม หรือรูปอื่นแล้วแต่การประดิษฐ์ของผู้จัด ส่วนภาชนะที่ใช้ แต่เดิมนิยมใช้กระเชอหรือถาด นำหมรับ
ที่จัดแล้วไปวัด รวมกันตั้งไว้บน "ร้านเปรต" ซึ่งสร้างไว้กลางวัดยกเสาสูง ต่อมาในระยะหลัง ๆ ร้านเปรตทำเป็นศาลา หลังคามุงจากหรือมุงกระเบื้องแล้วแต่ฐานะของวัด บางถิ่นจึงเรียก "หลาเปรต" บนร้านเปรตจะมีสายสิญจน์วงล้อมไว้รอบและต่อยาวไปจนถึงพระสงฆ์ที่นั่งอยู่ใน วิหารที่เป็นที่ทำพิธีกรรม โดยสวดบังสุกุลอัฐิหรือกระดาษเขียนชื่อของผู้ตาย ซึ่งบุตรหลายนำมารวมกันในพิธีต่อหน้าพระสงฆ์ บุตรหลานจะกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญไปยังเปรตชนที่เป็นบรรพบุรุษ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว เก็บสายสิญจน์ ขนมต่าง ๆ จะถูกแบ่งออกส่วนหนึ่ง พร้อมกับของแห้งไว้ถวายพระ อีกส่วนหนึ่งให้เปรตชนที่พอมีกำลังเข้ามาเสพได้ ในขณะเดียวกันผู้ที่มาร่วมทำบุญทั้งหนุ่มสาว เฒ่าแก่ และโดยเฉพาะเด็ก ๆ จะเข้าไปรุมกันแย่งขนมที่ตั้งเปรตด้วยความสนุกสนาน เชื่อกันว่า การแย่งขนมเปรตที่ผ่าการทำพิธีแล้วนี้จะได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว และยังเชื่อกันต่อไปว่าขนมเหล่านี้ถ้านำไปหว่านในสวนในนา จะทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์เพิ่มผลผลิตสูง โดยเฉพาะขนมเทียน บางแห่งนำไปติดไว้ตามต้นไม้ผลเพื่อให้มีผลดก หลังจากนั้น ก็มักมีผู้ใจบุญโปรยทาน โดยใช้เหรียญสตางค์โดยไปที่ละมากเหรียญ ตรงไปยังฝูงชน ที่เรียกว่า "หว่านกำพรึก" แย่งกันอย่างนุกสนาน

สาระ
การทำบุญวันสารท เดือน ๑๐ กำหนดทำ ๒ ครั้ง คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ โดยเชื่อว่า วันแรม ๑ ค่ำ เป็นวันที่ยมบาลปล่อยให้เปรต หรือเปตชนขึ้นมาเยี่ยมลูกหลาน ๆ ก็จะทำบุญเลี้ยงต้อนรับ เมื่อถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ ก็ถือว่าเป็นวันที่ปู่ย่าตายาย ต้องกลับยมโลก ลูกหลานก็ทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง
การเตรียมข้าวของ ขนม ในวันทำบุญ เดือน ๑๐
๑. ลา มีความหมายใช้แทนเสื้อผ้า
๒. พอง มีความหมายว่าเป็นเครื่องประดับ
๓. ขนมเบซำ (ขนมเจาะหู) ใช้แทนเงิน หรือสตางค์มีรูในสมัยก่อน
๔. ขนมบ้า มีความหมายว่า เงินเหรียญ
๕. ขนมเทียน ใช้แทนหมอนหนุน


การแข่งโพน
ช่วงเวลา
ปลายเดือนสิบ ก่อนประเพณีชักพระ

ความสำคัญ
วัดต่าง ๆ เตรียมทำบุษบก หุ้มโพน และเริ่มการคุมโพนเพื่อเป็นการประกาศให้ชาวบ้านรู้ว่า ทางวัดจะจัดให้มีการชักพระ ต่อมามีการโต้เถียงเกี่ยวกับเสียงโพน จึงคิดเล่นสนุกสนานมากขึ้น มีการท้าพนันกันบ้างว่า ผู้ตีโพนคนใดเรี่ยวแรงดีที่สุด ลีลาท่าทางการตีดีที่สุด โพนวัดใดเสียงดังมากที่สุด จึงมีการแข่งขันตีโพนกันขึ้น ในระยะ แรก ๆ เข้าใจว่า คงตีแข่งขันภายในวัดและค่อยขยายออกมาภายนอกวัด เพิ่มจำนวนโพนขึ้น จัดประเภทและมีกติกามากขึ้น การคิดเล่นสนุกสนานเหล่านี้ ทำให้มีการแข่งโพนกันอย่างกว้างขวางในระยะหลัง และกลายเป็นประเพณีท้องถิ่นที่สืบต่อกันมา ปัจจุบันการแข่งโพนเป็น กิจกรรมการละเล่นที่สำคัญของจังหวัดพัทลุง

พิธีกรรม
การแข่งโพนแบ่งได้เป็น ๒ อย่าง คือ
๑. แข่งมือ ตัดสินให้ผู้ตีที่มีกำลังมือดีกว่าเป็นฝ่ายชนะ โดยให้ตีจนผู้ใดอ่อนล้าก่อนเป็นฝ่ายแพ้ ปัจจุบันไม่นิยมเพราะทำให้เสียเวลามาก
๒. แข่งเสียง ตัดสินให้โพนที่มีเสียงดังกว่าเป็นฝ่ายชนะ การแข่งขันจะเป็นแบบพบกันหมดหรือแพ้คัดออกก็ได้ จับสลากแข่งขันเป็นคู่ ๆ ใช้ผู้ตีฝ่ายละ ๑ คน กรรมการ ๓ - ๕ คน ตัดสินให้คะแนน โดยอยู่ห่างจากสถานที่ตีไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร ณ สถานที่ตี กรรมการควบคุมการตีและคุมเวลา เรียกคู่โพนเข้าประจำที่ ลองตีก่อนฝ่ายละประมาณ ๓๐ วินาที เพื่อดูว่าโพนฝ่ายใดมีเสียงทุ้ม และโพนฝ่ายใดมีเสียงแหลม จากนั้นเริ่มให้ทั้งคู่ตีพร้อมกันภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งโดยมากจะใช้เวลา ๑๐ - ๑๕ นาที ขณะที่โพนกำลังตีแข่งขันอยู่นั้น กรรมการฟังเสียงทั้งหมดจะตั้งใจฟังเสียงโพนแล้วตัดสินให้โพนที่มีเสียงดัง กว่าเป็นฝ่ายชนะ โดยถือเอาเสียงข้างมากของกรรมการเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน

สาระ
การแข่งขันโพน นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวพันกับพิธีการทางศาสนาบางประการแล้ว กิจกรรมการละเล่นชนิดนี้ยังช่วยให้มองเห็นการแสวงหาความสุข ความบันเทิงใจ อีกทั้งยังเป็นสื่อในการประสานความสัมพันธ์ทางสังคม ทำให้ชาวบ้านมีโอกาสพบปะสัมพันธ์กัน เป็นกิจกรรมการละเล่นที่สำคัญนำมาสู่การสร้างสรรค์ ความสามัคคีในชุมชน จึงควรอนุรักษ์ให้ การละเล่นชนิดนี้คงอยู่ตลอดไป


ประเพณีการเดินเต่า
ช่วงเวลา
เวลาที่เต่าทะเลหลายชนิดขึ้นมาวางไข่บนหาด เมื่อถึงฤดูวางไข่คือประมาณ เดือน ๑๑ แรม ๑ ค่ำ ราวปลายเดือนตุลาคม หรือต้นเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือน ๔ ราว ๆ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนก่อนหรือหลังเวลาที่ว่ามานี้มีบ้างเล็กน้อย
ความสำคัญ
ประเพณีการเดินเต่า คือการเดินหาเต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่บนหาดทราย ซึ่งแหล่งที่มีการเดินเต่าทางภาคใต้นั้นมีหลายแหล่ง โดยเฉพาะบริเวณที่มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่คือบริเวณชายฝั่ง แถวฝั่งทะเลด้านตะวันตก หรือชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ ทางตะวันตกของจังหวัดพังงา ซึ่งเป็นหาดทรายที่มีความยาวโดยตลอดร่วม ๑๐๐ กิโลเมตร ซึ่งในบริเวณชายฝั่งทะเลนั้น จะมีเต่าทะเลหลายชนิดขึ้นมาวางไข่บนหาดทราย เมื่อถึงฤดูวางไข่ ชนิดของเต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่ตามชายฝั่งตะวันตกนี้มีหลายชนิด ซึ่งชาวบ้านเรียกกันหลายชื่อได้แก่ เต่ากระ เต่าเฟือง เต่าเล็ก เต่าหางยาว เป็นต้น
ในแต่ละปีเต่าทะเลแต่ละชนิดจะขึ้นมาวางไข่ ๔ ครั้ง การวางไข่ของเต่าทะเลนั้นมีนิสัยที่แปลกประหลาดและน่าสนใจกว่าสัตว์อื่น ๆ ตรงที่จะขึ้นมาวางไข่ประจำที่หรือประจำหาด ทั้ง ๆ ที่ทะเลนั้นกว้างใหญ่ไพศาล เป็นต้นว่าเต่าทะเลตัวใด ที่ขึ้นมาวางไข่ที่หาดไหนคราวต่อไปก็ขึ้นมาวางไข่ตรงที่หาดนั้นทุกครั้งไป เป็นประจำทุกปี อาจยกเว้นว่าบางครั้งมันอาจขึ้นมาพบคนรบกวนก็อาจต้องเปลี่ยนไปที่หาดอื่น บริเวณใกล้ ๆ กัน
เนื่องจากลักษณะของเต่าทะเลพิศดารอย่างนี้ ชาวบ้านในสมัยก่อนจึงสามารถเก็บไข่เต่าได้ โดยอาศัยความทรงจำของเต่าให้เป็นประโยชน์ เพราะว่าเต่าทะเลแต่ละตัวหากขึ้นวางไข่ที่ใดแล้ว หลังจากนั้นไปเป็นเวลา ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ เต่าตัวเดิมนี้ จะขึ้นมาวางไข่อีกที่หาดเดิม แต่ตำแหน่งที่คลานขึ้นมาวางไข่จะห่างจากที่เคยขึ้นวางไข่ครั้งก่อนราว ๑๐-๒๐ เมตร อาจเป็นเพราะว่ามันกลัวจะไปขุดถูกหลุมไข่ที่เคยวางไว้แล้ว ก็เป็นได้ ส่วนเวลาไหนนั้นชาวบ้านจะต้องคำนวณโดยการนับน้ำว่าวันที่ครบกำหนดวางไข่นั้น เป็นวันข้างขึ้นหรือแรมกี่ค่ำ ก็พอรู้ได้ว่าเวลาเท่าไรที่น้ำขึ้นครึ่งฝั่งน้ำลงครึ่งฝั่ง ซึ่งเป็นเวลาที่เต่าขึ้นวางไข่ จากนั้นก็สามารถเอาตะกร้าไปรอรับไข่เต่าได้ถูกต้องโดยไม่ต้องเดินไปเดินมา และไม่ต้องเสียเวลาหาหลุมไข่เต่าในตอนหลัง เช่นครั้งที่ ๑ ขึ้นมาวางไข่ในแรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ครั้งต่อไปก็จะขึ้นวางอีกในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (หลังจากครั้งก่อน ๗ วัน) หรืออาจไม่ขึ้นมาวางไข่ในวันดังกล่าวนี้ ก็จะขึ้นมาวางไข่ในวันขึ้น ๗ ค่ำเดือน ๑๒ (หลังจากครั้งก่อน ๑๔ วัน) จากปากคำของชาวบ้านที่เคยได้สัมปทานไข่เต่าหรือเรียกกันในภาษาเดิมว่า "ผูกเต่า" บอกว่าใช้วิธีนี้ทำให้ไม่ต้องเดินให้เมื่อยเลย อาจจนอนอยู่ที่บ้านแล้วพอถึงเวลาที่คำนวณไว้ก็ค่อยเดินไปนั่งรอที่จุดนั้น ๆได้ และมักจะถูกต้องเสมอทุกคราวไป
แต่ในปัจจุบันนี้ ประเพณีการเดินเต่าไม่มีแล้ว เพราะว่าประชาชนในท้องถิ่นได้ร่วมมือกันอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่งทะเล อันดามัน ได้แก่ เต่าทะเล เป็นต้น ถ้าบุคคลใดฝ่าฝืนใน ถือเป็นการทำผิดกฎหมายถูกดำเนินคดีทางกฎหมายได้
พิธีกรรม
ประเพณีการเดินเต่าจะทำกันในตอนกลางคืน ซึ่งเริ่มตั้งแต่พลบค่ำจนสว่าง สำหรับคนรุ่นใหม่ ๆ นั้นหากไม่ค่อยมีความรู้ ก็อาจเดินหาตามความยาวของหาดทราย ระยะทางหลายกิโลเมตร โดยไม่เจอไข่เต่า แม้แต่หลุมเดียว (หลุมรัง) ก็เป็นได้ แต่สำหรับคนรุ่นก่อน ๆ นั้นมีเคล็ดในการหาไข่เต่าหลายอย่าง อย่างแรก คือเวลาที่เต่าจะขึ้นมาวางไข่ เต่าจะขึ้นมาวางไข่เมื่อไหร่นั้นให้ดูได้คือ
๑. ให้ดูดาวเต่า ดาวเต่านี้จะประกอบด้วยดาวหลายดวงซึ่งคนที่ชำนาญจะมองเห็นเป็นรูปเต่า ตำแหน่งที่ดาวเต่าเริ่มหันหัวลงทางทิศตะวันตก คือดาวเต่าเริ่มคล้อยลง (คล้าย ๆ กับดวงอาทิตย์ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ นาฬิกา เป็นต้นไป) เมื่อดาวเต่าหันหัวลงทะเลก็เป็นเวลาที่เดินเต่าได้ คนโบราณเชื่อว่าเต่าจะขึ้นมาวางไข่เวลานี้
๒. ให้ดูน้ำ หมายถึงน้ำทะเลขึ้นลงนั่นเอง หากว่าน้ำขึ้นครึ่งฝั่ง หรือน้ำลงครึ่งฝั่ง ก็เป็นเวลาที่เต่าทะเลจะขึ้นมาวางไข่ ไม่ปรากฏว่าเต่าทะเลขึ้นมาขณะน้ำลดน้ำขึ้นมา
ดังนั้น เต่าทะเลก็มีกำหนดเวลาขึ้นวางไข่ในเวลาที่ไม่ซ้ำกัน ขึ้นอยู่กับว่าเป็นวันข้างขึ้นหรือข้างแรม กี่ค่ำที่ทำให้น้ำขึ้นลงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ
สาระ
ประเพณีการเดินเต่า ชาวบ้านในท้องถิ่นพบเต่าทะเลที่กำลังขึ้นมาวางไข่ก็รู้ได้จากรอยคลานของเต่า ที่ปรากฏ อยู่บนหาดทราย ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจน เพราะมันจะใช้ทั้ง ๒ คู่สับลงบนพื้นทรายแล้วลากตัวขึ้นมา จึงปรากฏรอยในลักษณะที่คล้ายรอยของรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก โดยปรากฏเป็นทาง ๒ ทาง คือทางขึ้น ๑ ทาง ทางลงอีก ๑ ทาง จากรอยนี้ก็บอกได้ว่าต้องมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ แต่การหาหลุมที่เต่าวางไข่นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะว่าหาดทรายกว้าง ชาวบ้านในสมัยก่อนที่มีความรู้ มีวิธีสังเกตเพื่อหาหลุมไข่เต่าหลายวิธี ได้แก่
๑. ดูปลายทราย หมายถึงให้สังเกตทรายที่เต่าขุดขึ้นมาแล้วสาดไปโดยรอบลำตัวขณะที่ขุดหลุมวาง ไข่ จะปรากฏให้เห็นเป็นแนวโดยรอบ ๆ หลุมในระยะพอสมควร ซึ่งพอสันนิษฐานได้ว่าบริเวณที่อยู่จากถัดจากปลายทรายเข้าไปนั้น ต้องเป็นหลุมไข่เต่า แต่บางครั้งก็ไม่แน่นอนเพราะเต่ามักมีการพรางหรือหลอกโดยการสาดทราย หลาย ๆ จุด แต่ไม่ได้วางไข่จริง ๆ จะดูว่าเต่ามันหลอกเราหรือไม่นั้นก็ดูทรายที่สาด หากเป็นทรายเปียกหรือจับเป็นก้อนเล็ก ๆ แสดงว่าเป็นบริเวณหลุมที่วางไข่จริง เพราะเป็นทรายที่ขุดจากทรายชั้นล่าง หรือจากก้นหลุม
๒. ใช้ไม้ปลายแหลมแทงหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "สัก" ลงไปตามพื้นทรายให้ลึกประมาณ ๒ ฟุต แล้วสังเกตว่า ไม้ที่แทงนั้นผิดปกติหรือไม่ หากผิดปกติ เช่น แทงลงโดยง่าย ทันทีอาจแทงบนหลุมเต่าก็ได้ อาจทดสอบได้ด้วยการดมปลายไม้ดู หากแทงถูกหลุมวางไข่จะมีกลิ่นคาวของไข่เต่าติดปลายไม้ขึ้นมา
๓. ถ้าเป็นเวลากลางวันให้ดูแมลงวันว่าไปตอมบริเวณใด เพราะแมงวันจะไปตอมบริเวณที่วางไข่ ซึ่งมีคาวเมือกขณะที่เต่าทะเลวางไข่ตกอยู่
หากทั้ง ๓ วิธีไม่สามารถหาหลุมวางไข่ ชาวบ้านสมัยก่อนใช้วิธีสุดท้าย คือสังเกตพื้นทรายบริเวณที่มีรอยของเต่าในเวลาประมาณ ๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ นาฬิกา จะพบว่าบริเวณที่เป็นหลุมไข่เต่าจะมีลักษณะเป็นไอหรือควันขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าเมื่อไข่มีอุณหภูมิสูง เมื่อมาถูกกับความเย็นของทรายชั้นล่างก็เกิดการคายความร้อน และเกิดไอขึ้นเหนือทรายได้
ไข่เต่าในแต่ละหลุมหรือที่เรียกกันตามภาษาชาวบ้านว่า "รัง" จะมีจำนวนแตกต่างกันตามชนิดของเต่า และลำดับครั้งที่วางไข่ เช่น เต่ากระ ครั้งแรกอาจไข่รังละ ๘๐ ฟอง ครั้งต่อไป ก็อาจถึง ๑๒๐ ฟอง แล้วลดลงมาจนครั้งสุดท้ายอาจมีราว ๓-๔ ฟอง นอกนั้นเป็นไข่ที่ไม่มีไข่แดง ซึ่งเรียกว่า "ไข่ลม" เต่าเล็กจะไข่ครั้งแรกประมาณ ๑๐๐ ฟอง ครั้งต่อไปราว ๑๕๐ ฟอง ครั้งสุดท้ายก็ลดลงเหลือไม่กี่ฟอง เต่ามะเฟืองราว ๑๒๕ ฟอง ส่วนเต่าหางยาวมีจำนวนมากที่สุดราว ๑๕๐ ฟอง

แหล่งที่มา  http://ewt.prd.go.th/ewt/region7/main.php?filename=southculture01

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประเพณีไทยภาคกลาง





    ประเพณีไทยภาคกลาง
1. ประเพณีวิ่งควาย
                                           
ช่วงเวลา
          ในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 11 ก่อนออกพรรษา 1 วัน ของทุกปี

ความสำคัญ
          ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อนและได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควายได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ



ประเพณีวิ่งควาย จังหวัดชลบุรี



พิธีกรรม
          เนื่องจากสมัยก่อน ประเทศไทยทำอาชีพ เกษตรกรเป็นหลัก ซึ่งก็จะใช้ควายเป็นกำลังหลักในการ ไถ่หว่านพืชพันธุ์ ชาวบ้านจึงมีการ เลี้ยงควายไว้ใช้งาน เป็นจำนวนมาก และหลังจากสิ้นสุดฤดูกาล เพาะปลูกชาวบ้านก็ได้รวมตัวกัน จัดการแข่งขันวิ่งควายขึ้น เพื่อเป็นการพักผ่อน สร้างความสนุกสนาน สร้างความสามัคคีในหมู่คณะขึ้น ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดชลบุรี
          ในงานแข่งขัน ประเพณีวิ่งควาย ชาวบ้านต่างก็ประดับประดาควายของตัวเองให้สวยงาม เพื่อนเป็นการสร้างสีสันให้กับ ประเพณีวิ่งควาย ภายหลังจึงได้มีการประกวด ควายสวยงามด้วย ซึ่งนอกจากจะมีการ ประกวดควายสวยงามแล้ว ภายในงานก็จะ มีการทำขวัญควาย (ซึ่งก็จะเหมือนกับพิธีสู่ขวัญ มีบายสีสู่ขวัญ)
          ในปัจจุบันทางเทศบาลเมืองชลบุรี จะทำการจัดงาน ประเพณีวิ่งควายขึ้นที่อำเภอบ้านบึง ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด  ที่ตลาดหนองเขิน อำเภอบ้านบึง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด และที่วัดดอนกลาง ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง ก็จะจัด ประเพณีวิ่งควาย ขึ้นในวันแรม 1 ค่ำเดือนสิบเอ็ด ซึ่งเป็นวันทอดกฐินประจำปี ของทางวัดดอนกลางด้วย
          ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่จะ เปลี่ยนจากควาย มาเป็นเครื่องจักร ในการประกอบอาชีพ เกษตรกรรมแล้ว แต่ชาวจังหวัดชลบุรี และเทศบาลเมืองชลบุรีก็จัง คงสืบสาน ประเพณีวิ่งควาย เพื่อความเป็นเอกลักษณ์ และเป็นการแสดงถึงความสามัคคีของ ชาวจังหวัดชลบุรีต่อไป

สาระ
          แสดงถึงความสามัคคีของชาวไร่ชาวนาได้มีโอกาสพบปะกัน และแสดงเมตตาต่อผู้มีบุญคุณ คือควายเพื่อให้ควายได้พักผ่อน ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ก่อนออกพรรษา ซึ่งเป็นวันใกล้สิ้นฤดูฝนจะย่างเข้าฤดูหนาว ประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีที่จัดเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 เหตุที่เลือกเอาวันนี้เพราะเป็นวันพระ ชาวไร่ชาวนาเอาควายมาเทียมเกวียนบรรทุกกล้วย มะพร้าว ใบตอง ยอดมะพร้าว มาขายเพื่อคนในเมืองจะได้ซื้อไปห่อข้าวต้มหาง ทำบุญตักบาตร วันเทโวโรหนะ วันออกพรรษาขากลับจะได้มีโอกาสซื้อของไปทำบุญเลี้ยงพระตามวัดวาอารามใกล้เคียงในวันพระ และวันออกพรรษา ประเพณีวิ่งควาย ปัจจุบันในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จัดขึ้นวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11  อำเภอบ้านบึงจัดวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตลาดหนองเขิน ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จัดวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11  วัดกลางดอน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จัดวิ่งควายในการทอดกฐินประจำปีของวัด



2. ประเพณีรับบัว

ช่วงเวลา
          เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ถึง ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ก่อนออกพรรษา

ความสำคัญ
          ประเพณีรับบัวเป็นประเพณีประจำท้องถิ่น ของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมิได้ปรากฏหลักฐานว่ามีมาแต่ยุคใดสมัยใด
ประเพณีรับบัวนี้มีข้อสันนิษฐานความเป็นมาได้ 3 ประการ

          ประการแรก
          ในสมัยก่อนในแถบอำเภอบางพลี มีประชากรอาศัยอยู่ 3 พวกคือ คนไทย รามัญ และลาว แต่ละพวกจะมีหัวหน้าคอยควบคุมดูแลและทำมาหากินในอาชีพต่างๆกัน ซึ่งชาวรามัญในสมัยนั้นจะขุดบ่อเลี้ยงปลาเป็นอาชีพต่อมาทั้งคนไทย รามัญและลาว ทั้ง 3 พวกก็ปรึกษาหารือกันว่าสมควรจะช่วยกันหักล้างถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อทำไร่ทำสวนต่อไป บริเวณนี้แต่ก่อนเต็มไปด้วยป่าพงอ้อ พงแขมและไม้นานาชนิดขึ้นเต็มไปหมด ฝั่งทางตอนใต้ของลำคลองสำโรงก็เต็มไปด้วยป่าแสม น้ำก็เป็นน้ำเค็ม ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายจากสัตว์ร้ายนานาชนิดทางฝั่งตอนเหนือก็เต็มไปด้วยบึงขนาดใหญ่ ภายในบึงแต่ละบึงก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยบัวหลวงมากมาย พวกคนไทย รามัญและลาว ก็พยายามหักล้างถางพงเรื่อยมาจนถึงทางแยก 3 ทางคือ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นคลองสลุด ทางเหนือเป็นคลองชวดลากข้าว และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นคลองลาดกระบัง คนทั้ง 3 พวกก็ตกลงกันว่าควรจะแยกย้ายกันทำมาหากินคนละทางจะดีกว่าเพื่อที่จะได้รู้ภูมิประเทศว่าด้านไหนจะทำมาหากินได้คล่องดีกว่ากัน เมื่อตกลงดังนั้นแล้วจึงแยกทางกันไปทำมาหากิน โดยพวกลาวไปทางคลองสลุด ไทยไปทางคลองชวดลากข้าว พวกรามัญไปทางคลองลาดกระบัง พวกรามัญทำมาหากินอยู่ประมาณ 2-3 ปี ก็ไม่ได้ผลเพราะนก หนู ชุกชุมรบกวนพืชผลต่างๆจนเสียหายมากมาย เมื่อทำมาหากินไม่ได้ผลพวกรามัญก็ปรึกษาเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นเดิมที่ปากลัด (พระประแดง) เริ่มอพยพกันในตอนเช้ามืดของเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ก่อนไปก็ได้ไปเก็บดอกบัวในบึงบริเวณนี้มากมาย คนไทยที่คุ้นเคยกับพวกรามัญก็ไต่ถามว่าเก็บดอกบัวไปทำไมมากมายเพียงนี้พวกรามัญก็บอกว่าจะเอาไปบูชาพระคาถาพัน (เทศน์มหาชาติ) ที่ปากลัด และได้สั่งเสียกับคนไทยที่รักและสนิทสนมชิดชอบว่าในปีต่อมาเมื่อถึงเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ให้ช่วยเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่วัดหลวงพ่อโตนี้ด้วยพวกตนจะมารับ ด้วยนิสัยคนไทยนั้นชอบโอบอ้อมอารีรักพวกพ้องจึงตอบตกลง จากนั้นพวกชาวรามัญก็นมัสการหลวงพ่อโตพร้อมทั้งขอน้ำมนต์หลวงพ่อโตไปเพื่อเป็นศิริมงคลและลากลับถิ่นฐานเดิมที่ปากลัดและนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาพันปีต่อมาพอถึงกำหนดเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ คนไทยบางพลีก็รวบรวมดอกบัวไว้ที่วัดบางพลีใหญ่ตามคำขอร้องของชาวรามัญ พวกชาวรามัญก็จะมารับดอกบัวทุกปี การมาจะมาในเวลากลางคืน มาโดยเรือขนาดจุ 50-60 คน จะมาถึงวัดประมาณตี 1-4 ของทุกครั้งที่มาและมีการตีฆ้องร้องเพลงตลอดทางอย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งมีการละเล่นต่างๆในเรือ ผู้ที่คอยต้อนรับก็พลอยสนุกสนานไปด้วยไมตรีจิตอันดียิ่ง คนไทยได้ทำอาหารคาวหวานต่างๆเลี้ยงรับรองโดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยงอาหารกันเมื่ออิ่มหนำสำราญแล้วก็นำดอกบัวไปมนัสการหลวงพ่อโต จากนั้นก็นำดอกบัวกลับไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด

          ประการที่สอง
          ชาวรามัญที่ปากลัด (พระประแดง) มาทำนาอยู่ที่อำเภอบางพลี (ตำบลบางแก้ว) ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่าเป็นชาวรามัญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย พร้อมกับเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนีย์) ในสมัยกรุงธนบุรี การอพยพของชาวรามัญครั้งนี้เนื่องจากพระเจ้ามังระ คิดจะมาตีกรุงธนบุรี จึงเกณฑ์พวกรามัญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาช่วยรบ ชาวรามัญนั้นได้รับการกดขี่ข่มเหงจิตใจถูกฆ่าลูกเมีย ชาวรามัญจึงกบฏต่อพม่าโดยรวมตัวกันไปตีพม่าแต่สู้พม่าไม่ได้ ก็หนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบารมีต่อพระเจ้าตากสินมหาราชและได้นำเอาปี่พาทย์มอญเข้ามาด้วยเมื่อปี พ.ศ. 2317 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พวกรามัญไปตั้งภูมิลำเนาที่ปากเกล็ด แขวงนนทบุรี และปากโคก แขวงปทุมธานี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงโปรดเกล้าฯให้ย้ายครอบครัวชาวรามัญและพระยาเจ่ง มาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์(พระประแดง) ในปี พ.ศ. 2367 และต่อมาชาวรามัญได้ทำความดีความชอบได้รับพระราชทานที่นาที่บางพลี จึงเป็นเหตุให้ชาวรามัญมาทำนาที่บางพลี ชาวรามัญนั้นจะมาเฉพาะฤดูทำนา เมื่อเสร็จสิ้นการทำนาก็จะกลับที่ปากลัด เมื่อออกพรรษาชาวปากลัดที่มีเชื้อสายรามัญส่วนใหญ่เป็นผู้เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาก็จะกลับไปทำบุญที่วัดบ้านของตน เมื่อกลับก็จะไปเก็บดอกบัวที่ตำบลบางพลีใหญ่ซึ่งมีมากมายในสมัยนั้นไปประกอบเป็น "ดอกไม้ธูปเทียน" ในการทำบุญที่มีการเทศน์คาถาพันส่งท้ายพรรษา ครั้งแรกก็เก็บกันเองต่อมาชาวอำเภอบางพลีเห็นว่าชาวรามัญมาเก็บดอกบัวทุกปี ในปีต่อๆมาจึงเก็บดอกบัวเตรียมไว้ให้ตามนิสัยคนไทยที่ชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ระยะแรกก็ส่งให้กับมือมีการไหว้ขอบคุณ ต่อมาเกิดความคุ้นเคยถ้าใกล้ก็ส่งมือต่อมือ ถ้าไกลก็โยนให้จึง เรียกว่า "รับบัว โยนบัว"

          ประการที่สาม
          เดิมทีเดียวที่ตำบลบางพลีใหญ่ในเป็นตำบลที่มีดอกบัวมาก อำเภอต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงเช่น อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง และอำเภอต่างๆที่อยู่ใกล้เคียง เมื่อถึงวาระต้องบำเพ็ญกุศลในเทศกาลออกพรรษาก็มาเก็บดอกบัวที่นี่ เพราะถือว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ทางพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธเจ้าเวลาประทับนั่งยืน เดิน จะมีดอกบัวรองรับเสมอ อีกประการหนึ่งในเรื่องพระมาลัยได้กล่าวว่ามีชายเข็ญใจคนหนึ่งได้ถวายดอกบัวแก่พระมาลัย ยังไปเกิดเป็นเทพบุตรได้ ดังนั้นในสมัยโบราณคนจึงนิยมถวายดอกบัวแก่พระในวันออกพรรษาถือว่าได้บุญกุศลแรงมาก ถึงกับลงทุนนอนค้างอ้างแรมยังตำบลนี้เพื่อเก็บดอกบัว ในสมัยแรกๆ คงเที่ยวหาเก็บกันเองแต่ในสมัยต่อมาชาวบางพลีก็จะเตรียมเก็บไว้เพื่อเป็นการทำกุศลร่วมกันเท่านั้น

พิธีกรรม
          พอถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ตั้งแต่ตอนเย็นชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการ ชาวพระประแดง และชาวต่างถิ่นจะชักชวนพวกพ้องเพื่อนฝูงลงเรือพร้อมด้วยเครื่องดนตรีนานาชนิดเช่น ซอ ปี่ กระจับ โทน รำมะนาโหม่ง กรับ ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น พายกันไปร้องรำทำเพลงกันไปตลอดทาง ตลอดคืน ซึ่งบางพวกจะผ่านมาทางลำน้ำเจ้าพระยา บางพวกจะผ่านมาทางลำคลองอื่นๆเข้าคลองสำโรงและมุ่งหน้ามายังหมู่บ้านบางพลีใหญ่สำหรับชาวบางพลีนั้นจะถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีว่าเมื่อถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็จะต้องเตรียมหาดอกบัวหลวง สำหรับมอบให้แก่ชาวบ้านที่ต้องการและมิตรต่างถิ่นมาเยือนในโอกาสเช่นนี้ ก็คงแสดงมิตรจิตออกต้อนรับ จัดหาสุราอาหารมาเลี้ยงดูกันตั้งแต่ตอนค่ำของวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ส่วนพวกที่มารับบัวคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวบางพลีผู้เป็นเจ้าของบ้าน ก็จะพาขึ้นไปเยี่ยมเยือนบ้านนั้นบ้านนี้ และต่างก็สนุกสนานร้องรำทำเพลงและร่วมรับประทานอาหารสุรากันตลอดคืน พอเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านต่างก็นำเรือของตนออกไปตามลำคลองสำโรงเพื่อไปขอรับบัวจากชาวบ้านบางพลีทั้งสองฝั่งคลอง การให้และการรับดอกบัวก็จะทำกันอย่างสุภาพ คือส่งและรับกันมือต่อมือ หรือก่อนให้จะยกมือพนมอธิษฐาน เสียก่อนระหว่างชาวบ้านบางพลีกับชาวต่างถิ่นที่สนิทสนมคุ้นเคยกันป็นพิเศษ บางทีชาวบางพลีก็จะโยนดอกบัวลงไปให้กันโดยไม่มีพิธีรีตอง เหตุที่มีการโยนบัวให้กัน แบบมือต่อมือจึงเลือนไปจนมีการนำไปพูดกันตอนหลังว่า รับบัว โยนบัว การรับดอกบัวของชาวต่างบ้านจากชาวบางพลีจะสิ้นสุดเมื่อเวลาประมาณ 08.00 น. หรือ 09.00 น. และชาวบ้านก็จะพากันกลับ ตอนขากลับจะมีการแข่งเรือกันไปด้วยแต่เป็นการแข่งขันโดยมีเส้นชัย ไม่มีกรรมการตัดสินและไม่มีการแบ่งประเภทหรือชนิดของเรือ ใครพอใจจะแข่งกับใครเมื่อไหร่ที่ใดก็แข่งกันไปหรือจะเปลี่ยนคู่เปลี่ยนคู่แข่งกันไปเรื่อยๆตามแต่จะตกลงกันดอกบัวที่ชาวต่างถิ่นรับจากชาวบางพลีไปนั้นจะนำไปบูชาในเทศกาลออกพรรษาตามวัดในหมู่บ้านของตน
          ประเพณีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ครั้นนานมาชาวต่างถิ่นที่นำเรือมารับดอกบัวจากชาวบางพลีมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ เสียงกระจับ ปี่ สีซอ กลองรำมะนา เสียงเพลงเสียงเฮฮาที่เคยเซ็งแซ่ตามลำคลองสำโรงในคืนวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็ค่อยๆเงียบหายไป
          ต่อมาสมัยนายชื้น วรศิริ (เพชรบูรณะ วรศิริ) เป็นนายอำเภอบางพลี ระหว่าง พ.ศ. 2473-2481 ประเพณีรับบัวมีทีท่าว่าจะเสื่อมสูญไปนั้น ได้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง เมื่อได้หารือกับพ่อค้าคหบดีตลอดจนข้าราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางอำเภอบางพลีจึงได้ตกลงกันดำเนินการจัดงานประเพณีรับบัวขึ้นคือ เริ่มงานวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 และรุ่งขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันรับบัวอันเป็นครั้งแรกที่ทางราชการเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีรับบัวของชาวบางพลี
          ในการจัดงานประเพณีรับบัวของทางราชการอำเภอบางพลี มีการแต่งเรือประกวด เริ่มมีมาเมื่อ พ.ศ. 2480 (แต่ก่อนชาวต่างถิ่นจะตกแต่งเรือมาเพียงเพื่อความสวยงามแต่ไม่มีการประกวด) ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ช่วยกันหาดอกบัวแจกข้าวต้มมัดแก่แขกต่างบ้านและผู้จัดเรือประกวดในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ประชาชนต่างถิ่นและชาวอำเภอบางพลีจะลงเรือล่องไปตามลำคลองสำโรง ร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานร่วมกัน ชาวบางพลีจะจัดสุราอาหารไว้ต้อนรับแขกต่างบ้าน ชาวต่างถิ่นคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวอำเภอบางพลีคนใดบ้านใดก็จะพากันไปเยี่ยมเยือน สนุกสนานกับชาวบางพลีบ้านนั้นจนรุ่งเช้า วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ต่างก็จะพากันไปดูการประกวดที่คลองสำโรงหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี
          ในการจัดงานประเพณีรับบัวมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ มีการแห่หลวงพ่อโต ซึ่งแต่เดิมยังมิได้มีการแห่ดังเช่นสมัยนี้ ในราวปี พ.ศ. 2467 นางจั่นกับพวกได้พร้อมใจกันสร้างพระปฐมเจดีย์ขึ้น ในวัดบางพลีใหญ่ใน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็จัดให้มีการฉลองโดยแห่องค์พระปฐมเจดีย์นี้ตามลำคลอง แล้วกลับมาห่มองค์พระปฐมเจดีย์กลางคืนก็จัดให้มีมหรสพสมโภช แห่ไปได้ 2-3 ปี ก็หยุดไปด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ซึ่งเชื่อว่าการแห่ผ้าห่อองค์พระปฐมเจดีย์นี้ได้รับแบบอย่างมาจากการแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ของอำเภอเมืองสมุทรปราการ ต่อมาก็มีการแห่รูปหลวงพ่อโตแทน โดยความเห็นชอบของท่านสมภารกุ่ย และนายฉลวย งามขำ แห่รูปภาพของหลวงพ่อโตมาหลายปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2485 ก็มีการทำหุ่นจำลองหลวงพ่อโต สานด้วยโครงไม้ปิดกระดาษทาสีทอง แล้วนำแห่แทนรูปภาพของหลวงพ่อโต ซึ่งสร้างโดยนายไสว โตเจริญ ตกกลางคืนก็มีงานมหรสพฉลองกันอย่างครึกครื้นจนถึงสมัยพระครูพิศาลสมณวัตต์เป็นเจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่ในก็ได้จัดให้ทำการหล่อรูปหลวงพ่อจำลองขึ้น สำหรับแห่ตามลำคลองด้วยอลูมิเนียมใน พ.ศ. 2497 และปัจจุบันแห่โดยรูปหล่อจำลองหลวงพ่อโต (รูปปั้น) โดยจัดเป็นขบวนแห่ไปตามลำคลองสำโรงในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 เป็นการประกาศข่าวงานรับบัวให้ประชาชนทราบและวิธีนี้กลายเป็นประเพณีแห่หลวงพ่อโตก่อนวันงานรับบัว คือ วัน 13 ค่ำ เดือน 11 ตลอดจนถึงปัจจุบัน การแห่หลวงพ่อโตจึงเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีรับบัว ประชาชนที่อยู่สองฝั่งคลองสำโรงที่ขบวนแห่หลวงพ่อโตผ่านจัดประดับธงทิว ตกแต่งบ้านเรือนและตั้งโต๊ะหมู่บูชา พอเช้าวันรุ่งขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 มีการประกวดเรือประเภทต่างๆของตำบลใกล้เคียงและโรงเรียนส่งเข้าประกวด ซึ่งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2500 มีการจัดประกวด ปัจจุบันการประกวดเรือมี 3 ประเภทด้วยกัน คือ ประเภทสวยงาม ประเภทความคิด และประเภทขบขันหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น.และงานจะสิ้นสุดลงเวลา 11.00 น. ของวันเดียวกัน ในบางปีจัดให้มีการประกวดเทพีการแข่งเรือ หรืออย่างอื่นแล้วแต่คณะกรรมการ จัดงานรับบัวแต่ละปีจะพิจารณาเห็นสมควร ส่วนการร้องรำทำเพลงไปตามลำน้ำดูหายๆไปจนปัจจุบันไม่มีแล้ว คงเที่ยวสนุกสนานกันตามบริเวณที่จัดให้มีมหรสพเท่านั้น

สาระ
          "การเป็นผู้มีน้ำใจไมตรี" เป็นลักษณะเด่นของคนไทยประการหนึ่ง เราคงไม่ปฏิเสธกันว่าคนไทยเป็นผู้ที่ร่ำรวยน้ำใจ ยากที่จะหาประชากรในประเทศใดในโลกเทียมได้ แม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยอมรับในความมีน้ำใจไมตรีของคนไทยเช่นกัน จนได้ให้สมญาประเทศไทยว่า "สยามเมืองยิ้ม" ดังเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วนั่นเอง และชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการมีสิ่งหนึ่งที่ช่วยยืนยันถึงความเป็นผู้มีน้ำใจไมตรีของคนไทยเช่นกัน สิ่งนั้นคือมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษของชาวบางพลีได้มอบไว้ให้ลูกหลานของตน นั่นคือ "ประเพณีรับบัว" ประเพณีรับบัว เป็นประเพณีเก่าแก่ที่เกิดและจัดขึ้นในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มาช้านานแต่เพิ่งปรากฏหลักฐานในราว พ.ศ. 2467 ว่าเดิมจัดในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี และจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวอำเภอบางพลี ได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับประเพณีรับบัวว่า "ในสมัยก่อนโน้น อำเภอบางพลี มีดอกบัวมากมายตามลำคลอง หนองบึงต่างๆเป็นที่ต้องการของพุทธศาสนิกชน ในอันที่จะนำไปบูชาพระ เหตุที่เกิดประเพณีรับบัว เกิดจากชาวอำเภอพระประแดง และชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการ ที่เป็นชาวมอญ ต้องการนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาพันและบูชาพระในเทศกาลออกพรรษา ดังนั้นเมื่อถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ประชาชนทั้งสองอำเภอนี้ ได้ชักชวนกันพายเรือมาตามลำคลองสำโรงเพื่อมาเก็บดอกบัว เมื่อเก็บได้เพียงพอแล้วก็จะเดินทางกลับบ้านของตนในวันรุ่งขึ้น (ขึ้น 14 ค่ำ) ต่อมาชาวอำเภอบางพลี มีน้ำใจที่จะอำนวยความสะดวกให้ในฐานะที่ตนเป็นเจ้าของบ้าน เมื่อถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ก็จะร่วมแรงร่วมใจกันเก็บดอกบัวและเตรียมอาหารคาวหวานไว้เพื่อรอรับชาวอำเภอพระประแดงและชาวอำเภอเมืองฯ เช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ขบวนเรือพายของชาวอำเภอพระประแดงและชาวอำเภอเมืองฯก็จะมาถึงหมู่บ้านบางพลีใหญ่ เมื่อรับประทานอาหารที่ชาวอำเภอบางพลีเตรียมไว้ต้อนรับจนอิ่มหนำสำราญดีแล้ว ก็จะพายเรือไปตามลำคลองสำโรง เพื่อขอรับดอกบัวจากชาวอำเภอบางพลีทั้งสองฝั่งคลอง การส่งมอบดอกบัวจะทำกันอย่างสุภาพ คือส่งและรับบัวกันมือต่อมือ โดยผู้ให้และผู้รับพนมมือตั้งจิตอธิษฐานอนุโมทนาผลบุญร่วมกัน การกระทำเช่นนี้เองจึงได้ชื่อว่าการ "รับบัว" เมื่อปฏิบัติติดต่อกันหลายๆปี จึงได้กลายเป็น "ประเพณีรับบัว" ไปในที่สุด"
          นับตั้งแต่ พ.ศ. 2428 ถึงปัจจุบัน ชาวอำเภอบางพลีต่างยังไม่แน่ใจว่าตนโชคดีหรือโชคร้ายกันแน่ที่พื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ได้กลายเป็นจุดที่นักลงทุน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจที่จะมาลงทุนทำกิจการต่างๆ เนื่องจากพวกเขาเห็นว่า อำเภอบางพลี อยู่ใกล้กับกรุงเทพฯการคมนาคมสะดวกและเป็นแหล่งที่สามารถรองรับความเจริญจากกรุงเทพฯ ได้โดยตรง จึงได้พากันมาลงทุนตั้งโรงงานอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่มาก ปัจจุบันอำเภอบางพลีมีโรงงานอุตสาหกรรมเกือบ 800 แห่ง นอกจากนี้หมู่บ้านจัดสรรก็ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด สนามกอล์ฟ ขนาดใหญ่หลายแห่ง มีไว้เพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้มีอันจะกินเพียงระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี สภาพของอำเภอบางพลี เปลี่ยนไปราวกับหน้ามือเป็นหลังมือ จากสังคมชนบทที่ประชาชนมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีความสุขตามอัตภาพ กลายเป็นสังคมเมืองอุตสาหกรรม ชาวบ้านหลายครอบครัวได้กลายเป็น "เศรษฐีใหม่"ภายในพริบตา โดยการขายที่ดินให้กับนักลงทุนในราคาสูงลิ่ว ปัจจุบันสภาพสังคมในอำเภอบางพลี ไม่แตกต่างไปจากสังคมกรุงเทพฯเท่าใดนัก ทั้งด้านค่าครองชีพ การจราจร การแข่งขันประกอบธุรกิจ ฯลฯ ในสภาวะเช่นนี้แม้แต่ชาวบางพลีที่เป็นคนเก่าแก่เองก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีส่วนทำให้ประเพณีรับบัวเปลี่ยนรูปโฉมจากเดิม กล่าวกันว่า "ประเพณีรับบัวก็เปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิตอื่นๆในอำเภอบางพลีที่ต้องมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน เพื่อมิให้ตนต้องสูญหายไปจากโลกนี้"


แหล่งอ้างอิงค์    http://blog.eduzones.com/eve123/3508